วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557
ส่อระบาด.........ไข้คอตีบ
โรคคอตีบ (Diphtheria) หรือไข้คอตีบ เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบและมีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นในลำคอ ในรายที่รุนแรงจะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ อาจทำให้เสียชีวิตลงได้ จากพิษ (exotoxin) ของเชื้อจะทำให้มีอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจและเส้นประสาทส่วนปลาย ระยะฟักตัวจากการติดเชื้อจะเริ่มมีอาการไข้ต่ำๆ มีอาการคล้ายหวัดในระยะแรก มีอาการไอเสียงก้อง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ส่วนเด็กโตอาจจะบ่นเจ็บคอคล้ายกับคออักเสบ ในบางรายอาจจะพบต่อมน้ำเหลืองที่คอโตด้วย เมื่อตรวจดูในคอพบแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นอยู่บริเวณทอนซิล และบริเวณลิ้นไก่ แผ่นเยื่อนี้เกิดจากพิษที่ออกมาทำให้มีการทำลายเนื้อเยื่อ และทำให้มีการตายของเนื้อเยื่อทับซ้อนกันเกิดเป็นแผ่นเยื่อ (membrane) ติดแน่นกับเยื่อบุในลำคอ
ตำแหน่งที่จะพบการอักเสบและมีแผ่นเยื่อได้ คือ
1. ในจมูก ทำให้มีน้ำมูกปนเลือดเรื้อรัง มีกลิ่นเหม็น
2. ในลำคอและที่ทอนซิล ซึ่งแผ่นเยื่ออาจจะเลยลงไปในหลอดคอ จะทำให้ทางเดินหายใจตีบตันหายใจลำบาก ถึงตายได้
3. ตำแหน่งอื่นๆ ได้แก่ ที่ผิวหนัง เยื่อบุตา ในช่องหู
โรคคอตีบพบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย เป็นโรคที่พบได้ในทุกช่วงอายุ แต่มักไม่พบในเด็กอ่อนที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน เนื่องจากเด็กช่วงอายุนี้ได้ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคจากแม่ ซึ่งจะหมดไปเมื่อเด็กมีอายุได้ประมาณ 6 เดือน โดยทั่วไปในประเทศที่ยังไม่พัฒนามักพบโรคเกิดในเด็กเล็ก แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เมื่อเกิดโรคมักพบในวัยตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เนื่องจากขาดการฉีดวัคซีนกระตุ้น ซึ่งต้องฉีดทุกๆ 10 ปี ปัจจุบันโรคไข้คอตีบพบได้น้อยในประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ตั้งแต่อายุ 2 เดือน
ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ คือ ผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ (ทั้งเด็กและผู้ใหญ่) รวมทั้งผู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมแออัด ขาดสุขอนามัย และในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ
การดูแลตนเอง หรือ การดูแลเด็ก คือ การรีบพบแพทย์เมื่อมีอาการดังกล่าว เนื่องจากโรคคอตีบเป็นโรคติดต่อได้ง่าย รวดเร็ว และรุนแรง ดังนั้นผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย รวมทั้งผู้ดูแลผู้ป่วย ควรพบแพทย์เสมอ เพื่อขอรับคำแนะนำ อาจต้องตรวจเชื้อจากโพรงหลังจมูก และอาจจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ หรือ ฉีดกระตุ้น (ในคนที่เคยได้วัคซีนมาก่อนแล้ว) รวมทั้งการได้รับยาปฏิชีวนะเมื่อตรวจพบเชื้อทั้งๆที่ยังไม่มีอาการ ทั้งนี้ขึ้นกับคำ แนะนำของแพทย์
การป้องกันโรคคอตีบที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ การฉีดวัคซีน ซึ่งเริ่มฉีดเมื่ออายุ 2 เดือน โดยอยู่ในรูปแบบของวัคซีนรวมโรคคอตีบ โรคบาดทะยัก และโรคไอกรน ฉีดทั้งหมด 5 เข็ม เป็นระยะๆจาก อายุ 2 เดือน จนถึงอายุ 6 ปี ตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของกระทรวงสาธารณสุข
บทความที่ได้รับความนิยม
-
ขอเชิญผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชน เข้าร่วมประชุม ดังรายละเอียดตามนี้ ๑.วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เรื่องการอบรมฟื้นฟู...
-
นางนงนุช บุญวิเศษ อสม.ดีเด่นระดับเขต 10 ประจำปี 2555 สาขาสุขภาพจิตในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเชียงหวาง อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุ...
-
สำรวจพบพบเชื้อเอชพีวี หรือเชื้อมะเร็งปากมดลูกในห้องน้ำสาธารณะ ทั้งก้านกดชักโครก ก๊อกน้ำล้างมือ ที่รองนั่งโถส้วม เจอจากห้องน้ำในผั...
-
โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis ) โรคข้อเสื่อม คือภาวะที่ส่งผลกระทบต่อข้อทำให้ข้อติด และปวดข้อ มักใช้เวลาดำเนินโรคหลายปี และมักเป็...
-
บริการทันตกรรมในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ทุกช่วงอายุครรภ์ตามโครงการแม่ฟันดีสู่ ลูกรัก โดยจะมีการออกให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก และการให้การรักษาเบื...
-
โรคตับแข็งจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ Alcohol-induced cirrhosis ภาวะตับแข็งเกิดจากเซลล์ของตับถูกแทนที่โดยเนื้อเยื่อพังผืด ทำให้ลักษณะเนื้อเยื่อต...
-
"สุรวิทย์" ออกนโยบายยกระดับมาตรฐานตลาดนัดกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ เตรียมประกาศให้ตลาดนัดเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ชี้ต้อ...
-
หลังจากบิดาของเด็กหญิงวัย 2 ขวบ ที่เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุที่โรงพยาบาล (รพ.) นพรัตน์ราชธานี กรุงเทพมหานคร ออกมาเปิดเผยว่า แพทย์ตรวจ...