วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เด็กต่ำ 5 ขวบเสี่ยง!! โรคมือ เท้า ปาก



เป็นโรคที่ถือว่าพบได้บ่อยมาก สำหรับโรค "มือ เท้า ปาก" หรือ Hand Foot Mouth Disease โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนจะพบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enterovirus โดยติดต่อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย อาทิ น้ำมูก น้ำลาย เสมหะอุจจาระ เป็นโรคสำคัญที่เกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบการระบาดในหลายประเทศ โดยเฉพาะเอเชียแปซิฟิก เช่น จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา เวียดนาม และไทย ซึ่งแนวโน้มการเกิดโรครุนแรง และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในรายที่ติดเชื้อไวรัสเอนเตอโร 71 อาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก เช่น ไวรัสเอนเตอโร 71 ไวรัสคอกซากี เอ ไวรัสคอกซากี บี และไวรัสเอสโฆ่ เป็นต้น

สถานการณ์ในอดีตโรค มือ เท้า ปาก
 

สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 – 2554 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยพบจำนวนผู้ป่วยตั้งแต่ 769 - 16,846 ราย ดังภาพที่ 1 



ภาพที่ 1  อัตราป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ. 2546 – 2554 ในประเทศไทย 





สถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจุบันโรคมือ เท้า ปาก 

ทั้งนี้จากการเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค มีรายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2556 - 15 ก.ย. 2556 พบผู้ป่วย 32,321 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 50.88 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 2 ราย 

ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคเหนือ 85.95 ต่อแสนประชากร ภาคใต้ 51.70 ต่อแสนประชากร ภาคกลาง 48.71 ต่อแสนประชากร และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 33.50 ต่อแสนประชากรตามลำดับ 

บทความที่ได้รับความนิยม