วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2557

ภัยเงียบ ! ! ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C)


ไวรัสตับอักเสบซี ถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2532 เป็นไวรัสตับอักเสบชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบในตับ สามารถทำให้เกิดการตับอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังตลอดจนตับแข็งและมะเร็งตับ ความรุนแรงของไวรัสชนิดนี้คือ เป็นตับอักเสบเรื้อรังมากกว่าชนิดอื่น และยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ ทำได้ก็เพียงการให้ยาลดไวรัสและป้องกันการเกิดมะเร็งตับเท่านั้น 

ปัจจัยเสี่ยงและการติดต่อ 
ไวรัสตับอักเสบซี ติดต่อทางเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันแต่มีผู้ป่วยบางท่านได้รับเชื้อโดยไม่ทราบแหล่งที่มาปัจจัยเสี่ยงได้แก่ 

• ผู้ที่เคยได้รับเลือด และ สารเลือดก่อนปี ค.ศ. 1992 เนื่องจากยังไม่มีการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี 

• เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ได้รับอุบัติเหตุถูกเข็มตำ 

• ผู้ป่วยติดยาเสพติดใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน 

• ทารกที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อ ไวรัสตับอักเสบซี พบได้ร้อยละ 5 

• ผู้ที่สำส่อนทางเพศ หรือ รักร่วมเพศ 

• ไดรับเชื้อจากการสักตามตัว 

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบซี 
อาการของตับอักเสบเฉียบพลันจาก ไวรัสตับอักเสบซี 

1. ไม่มีอาการ 

2. อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลดและลงท้ายด้วยตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งอาการตัวเหลืองตาเหลืองพบได้เพียง 10-15% เท่านั้น ที่เหลือไม่พบ จึงทำให้ยากต่อการวินิจฉัย 

อาการตับอักเสบเรื้อรังจาก ไวรัสตับอักเสบซี ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอาการ บางรายอาจมีอาการเหนื่อยเพลีย ไม่มีแรง มึนงง สมองไม่สั่งงานและเมื่อตับอักเสบไปเรื่อยๆ จึงพบอาการตับแข็ง นอกจากนั้นอาจพบอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานผิดปกติ เช่น โรคไต โรคผิวหนังผื่นตามผิวหนัง เป็นต้น

การรักษาโรค ไวรัสตับอักเสบซี 
ตับอักเสบเฉียบพลัน เนื่องจากผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบเฉียบพลันมักไม่ค่อยมีอาการ จึงไม่มีการรักษาใดๆ เป็นเพียงการดูแลรักษาตามอาการเท่านั้น เช่น ถ้าอ่อนเพลียก็ให้พักผ่อนเยอะๆ ไม่นอนดึก หลีกเลี่ยงอาหารมัก เป็นต้น 

ตับอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ส่วนใหญ่จะกลายเป็นโรคเรื้อรังและมีการดำเนินของโรคไปเรื่อยๆ จนถึงสภาพตับเสื่อมและตับวายในที่สุด ปัจจุบันยาที่ใช้เป็นมาตรฐาน ในการรักษาคือ การให้ยา 2 ตัวร่วมกัน คือ ยาฉีดในกลุ่มอินเตอร์เฟอรอนร่วมกับยาไรบาไวริน ซึ่งเป็นยารับประทาน ยาทั้งสองจะให้ผลดีคือกำจัดไวรัสให้หมดไปและไปเป็นซ้ำอีกหลังหยุดยาซึ่งให้ผลเฉลี่ยมากกว่า 50% 

การป้องกันไวรัสตับอักเสบซี 
ไวรัสตับอักเสบซี เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดความรุนแรงต่อตับ ตั้งแต่การติดเชื้อเรื้อรัง ตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็งและมะเร็งตับ แม้ว่าการคัดกรองเลือดในปัจจุบันจะมีความแม่นยำมากขึ้น ร่วมกับการรณรงค์เรื่องการใช้เข็มฉีดยายาเสพติด ทำให้การติดเชื้อจากแหล่งเหล่านี้ลดลง แต่มีแนวโน้มจะติดเชื้อเพิ่มขึ้นจากการกระทำบางอย่าง เช่น ห้ามใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน สวมถุงมือถ้าต้องสัมผัสเลือด ห้ามใช้มีดโกนหนวด แปรงสีฟันร่วมกัน ห้ามใช้อุปกรณ์ในการสัก การเจาะ ร่วมกัน ใช้ถุงยางอนามัยหากมีเพศสัมพันธ์หลายคน และเนื่องจากวัคซีนสำหรับการป้องกันยังไม่ค้นพบ ดังนั้น การป้องกันการติดเชื้อจึงถือว่าดีที่สุด 

บทความที่ได้รับความนิยม