วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

โรคข้อเสื่อม



โรคข้อเสื่อม 
(Osteoarthritis)

     โรคข้อเสื่อม คือภาวะที่ส่งผลกระทบต่อข้อทำให้ข้อติด และปวดข้อ มักใช้เวลาดำเนินโรคหลายปี และมักเป็นในข้อที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ เช่น ข้อเข่า, ข้อสะโพก และกระดูกสันหลัง เป็นต้น อย่างไรก็ตามโรคข้อเสื่อมอาจเป็นในข้อเล็กๆได้ เช่น นิ้วมือ, ข้อซอก และข้อไหล่ เป็นต้น โดยโรคข้อเสื่อมมักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่สามารถพบได้ในอายุน้อยเช่นกัน

   โรคข้อเสื่อมมีสาเหตุมาจากกระดูกอ่อนที่รองรับกระดูกนั้นขรุขระ และบางมากขึ้น เมื่อกระดูกเสียดสีกันมากขึ้นจะทำให้กระดูกงอกใหม่ เรียกว่า Osteophyte  ในบางครั้งเมื่อมีการอักเสบจึงทำให้น้ำเข้ามาสะสมทำให้เกิดอาการข้อบวมได้
  การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เกิดอาการปวดข้อ ข้อติด และใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบากมากขึ้น ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการนั้นขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละรายไป แม้ว่าไม่มีการรักษาที่ทำให้หายขาด แต่การรักษาจะช่วยลดอาการได้
อาการของโรคข้อเสื่อม

    ปวดลึกๆในข้อ, ขยับทิศทางข้อได้น้อยลง, ได้ยินเสียงจากข้อ(ได้ยินเสียงกร๊อบแกร๊บขณะขยับข้อ), ข้อเปลี่ยนรูป และมักมีอาการมากขึ้นช่วงเย็น(หลังจากการใช้งาน)

สาเหตุของโรคข้อเสื่อม

   ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป, อ้วน, พันธุกรรม, เคยบาดเจ็บบริเวณข้อ, มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคข้อรูมาตอยด์ และโรคเกาต์

การวินิจฉัยโรคข้อเสื่อม

   แพทย์จะซักประวัติ และตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น การขยับข้อเพื่อตรวจหาการอักเสบ และทิศทางของข้อที่สามารถขยับได้ นอกจากนั้นแพทย์จะส่งตรวจการถ่ายภาพทางรังสีบริเวณข้อนั้นๆ เพื่อหาลักษณะที่จำเพาะต่อโรคข้อเสื่อม

การรักษาโรคข้อเสื่อม

    โรคข้อเสื่อมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตามมีการรักษาหลายแนวทางที่ช่วยลด และควบคุมอาการได้
    - การดูแลตนเอง ได้แก่ การมีน้ำหนักที่เหมาะสม, ออกกำลังกายเป็นประจำ, ใส่รองเท้าที่นุ่ม และหนา เป็นต้น
    - การรักษาด้วยยา ได้แก่ การใช้ยาแก้ปวดทั้งชนิดกิน และทา
    - การรักษาโดยการผ่าตัด จะเลือกใช้เมื่อมีอาการปวดรุนแรง และไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยการผ่าตัดสาข้อเทียม
   - การรักษาทางเลือก เช่น การกิน Glucosamine ซึ่งช่วยได้ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น     












บทความที่ได้รับความนิยม