วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การรับมือกับโรคมะเร็ง

การรับมือกับโรคมะเร็งในการทำงาน 
Coping with cancer and work

ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ป่วยมะเร็งหรือต้องดูแลผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง สมดุลชีวิตระหว่างบ้านและที่ทำงานอาจได้รับผลกระทบจนรู้สึกว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากจะยอมรับ ซึ่งผลกระทบจะมีมากน้อยเพียงไร โดยทั่วไปแล้วก็ขึ้นอยู่กับชนิดของงานที่คุณทำ

สิ่งที่ต้องคำนึงเมื่อทราบว่าเป็นมะเร็ง

คุณควรแจ้งหัวหน้างานหรือแผนกบุคคลให้ทราบโดยเร็วว่าคุณเป็นมะเร็ง เพราะโดยส่วนใหญ่คุณต้องหยุดงานบ่อยกว่าปกติเนื่องจากอาการป่วยหรือเพราะต้องไปตามนัดของแพทย์ คุณจึงควรปรึกษานายจ้างในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • อธิบายให้นายจ้างทราบว่ามะเร็งที่เป็นจะมีผลกระทบกับงานอย่างไร ซึ่งอาจต้องขอเอกสารจากแพทย์ประกอบคำอธิบายเพื่อให้มีความเข้าใจโดยง่าย
  • หากเป็นไปได้อาจเปลี่ยนงานที่ทำอยู่เป็นประจำ มาทำงานที่มีการยืดหยุ่นของเวลาในการทำงานมากขึ้น
  • ระเบียบและวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อคุณต้องหยุดพักงานเนื่องจากอาการป่วย
  • สิทธิและสวัสดิการการรักษาพยาบาล
  • การสนับสนุนและการให้คำปรึกษา
  • การช่วยเหลือสนับสนุนเมื่อคุณจะกลับมาทำงานอีกครั้ง
การยังคงทำงานเป็นสิ่งดีที่จะช่วยดึงความคิดของคุณออกจากภาวะเจ็บป่วย และทำให้คุณรู้สึกว่าสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป
 
ข้อกังวลทางการเงิน

หากคุณทำงานได้น้อยลงหรือต้องหยุดงานเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อภาวะทางการเงินของคุณ ซึ่งการนิ่งเฉยต่อเรื่องนี้ อาจจะยิ่งทำให้ปัญหาภาวะทางการเงินแย่ลง ดังนั้นคุณควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ไว้ด้วย
  • ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการไปพบแพทย์ หรือจากภาระที่อาจเพิ่มขึ้นอื่นๆ
  • การจัดการกับรายได้ที่ลดลง
  • ความครอบคลุมประกันสุขภาพที่คุณมีอยู่
  • การชะลอแผนการใช้เงิน เช่น การย้ายบ้าน การท่องเที่ยว
  • แผนการเกษียณอายุรวมถึงเงินบำนาญ
คุณอาจเริ่มต้นด้วยการจัดทำเอกสารทางการเงินเพื่อระบุความต้องการทางการเงิน โดยอาจขอความช่วยเหลือจากเพื่อน คนในครอบครัว หรือองค์กรการกุศล เพื่อขอรับคำแนะนำและควรสำรวจหนี้สินในปัจจุบันว่ามีเท่าไหร่ รวมถึงการหารือกับเจ้าหนี้ให้รับทราบถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ เพื่อรับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการทางการเงินของคุณ
สิ่งต่อไปนี้อาจช่วยในการบริหารจัดการทางการเงินของคุณได้
  • จัดทำแผนการเงิน โดยคำนวณรายรับและรายจ่าย ตัดลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก
  • ตรวจสอบทรัพย์สินการจำนองต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับผลตอบแทนสูงสุด และควรคำนึงถึงอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำธุรกรรม
  • ตรวจสอบและเปลี่ยนผู้ให้บริการที่จำเป็นต่างๆ ภายในบ้าน ที่ทำให้คุณประหยัดมากที่สุด เช่น ตัวแทนจำหน่ายและจัดส่งก๊าซที่ใช้ในครัวเรือน
  • ตรวจสอบสิทธิการได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน เช่น เงินชดเชยกรณีไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากการเจ็บป่วย ซึ่งคุณอาจมีสิทธิได้รับค่าจ้างหรือเงินชดเชยจากการเจ็บป่วย โดยควรปรึกษานายจ้างหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อขอรับสิทธิที่คุณควรได้จากหน่วยงานต่างๆ
 
การจัดการกับความเหน็ดเหนื่อยในที่ทำงาน

โรคมะเร็งและผลต่อเนื่องจากการรักษา มักทำให้เกิดความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าและอ่อนเพลียกว่าปกติ อาจทำให้มีปัญหาขาดสมาธิในการทำงาน หรือรู้สึกมีแรงจูงใจน้อยในการทำงาน ง่วงนอนในระหว่างวันและอาจมีความบกพร่องในการตัดสินใจ ทั้งหมดนี้สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของคุณ
ข้อแนะนำต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้คุณเอาชนะความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในการทำงานได้
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป ควรดื่มน้ำเปล่าแทนชาหรือกาแฟเพื่อให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นอยู่เสมอ
  • วางแผนการทำงานของคุณในแต่ละวันแต่ละสัปดาห์ แบ่งงานให้สอดคล้องกับแผนการรักษาที่แพทย์นัด
  • นอนหลับให้เป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรนอนกลางวันตลอดทั้งวัน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ง่ายๆเช่นการเดิน โดยอาจกำหนดเป้าหมายว่าจะออกกำลังกายให้ได้ 150 นาที หรือ 2 ชั่วโมงครึ่งต่อสัปดาห์
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และได้พลังงานที่พอเพียง
  • จัดการกับเวลาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น เลือกวิธีการเดินทางไปทำงานที่ใช้เวลาน้อยลง หรือรับงานมาทำที่บ้าน
  • พักช่วงสั้นๆ ระหว่างทำงานเพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลายระหว่างวัน
  • ปรึกษานายจ้างหรือเพื่อนร่วมงานเพื่อช่วยลดภาระงานหรือสลับสับเปลี่ยนหน้าที่การทำงาน
 
การกลับเข้าทำงานใหม่

การต้องกลับไปทำงานหลังจากหยุดงานเป็นเวลานานอาจทำให้คุณรู้สึกหวั่นเกรง แต่การกลับไปทำงานได้อีกจะเป็นเครื่องช่วยยืนยันว่าการรักษาโรคกำลังเป็นไปอย่างราบรื่นและคุณกำลังจะกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรจะติดต่อสื่อสารให้นายจ้างรับทราบเกี่ยวกับอาการป่วยของคุณตลอดช่วงเวลาที่คุณหยุดพักรักษาตัวไป เพื่อที่นายจ้างจะได้เข้าใจและมีความคาดหวังที่ถูกต้องเมื่อคุณกลับจะเข้าทำงานอีกครั้ง
คุณสามารถกลับมาทำงานได้ง่ายขึ้นโดย
  • ปรึกษากับนายจ้างเรื่องการกลับมาทำงานและความช่วยเหลือต่างๆ ที่คุณต้องการ
  • ติดต่อกับเพื่อนร่วมงานเป็นระยะ เพื่อให้รู้สึกว่าคุณยังเป็นส่วนหนึ่งของที่ทำงาน
  • การกลับไปทำงานอาจเริ่มจาก 2-3 วันต่อสัปดาห์และค่อยๆเพิ่มจนเป็นปกติ
  • หาทางปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานที่เหมาะกับตัวคุณ

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

โรคข้อเสื่อม



โรคข้อเสื่อม 
(Osteoarthritis)

     โรคข้อเสื่อม คือภาวะที่ส่งผลกระทบต่อข้อทำให้ข้อติด และปวดข้อ มักใช้เวลาดำเนินโรคหลายปี และมักเป็นในข้อที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ เช่น ข้อเข่า, ข้อสะโพก และกระดูกสันหลัง เป็นต้น อย่างไรก็ตามโรคข้อเสื่อมอาจเป็นในข้อเล็กๆได้ เช่น นิ้วมือ, ข้อซอก และข้อไหล่ เป็นต้น โดยโรคข้อเสื่อมมักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่สามารถพบได้ในอายุน้อยเช่นกัน

   โรคข้อเสื่อมมีสาเหตุมาจากกระดูกอ่อนที่รองรับกระดูกนั้นขรุขระ และบางมากขึ้น เมื่อกระดูกเสียดสีกันมากขึ้นจะทำให้กระดูกงอกใหม่ เรียกว่า Osteophyte  ในบางครั้งเมื่อมีการอักเสบจึงทำให้น้ำเข้ามาสะสมทำให้เกิดอาการข้อบวมได้
  การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เกิดอาการปวดข้อ ข้อติด และใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบากมากขึ้น ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการนั้นขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละรายไป แม้ว่าไม่มีการรักษาที่ทำให้หายขาด แต่การรักษาจะช่วยลดอาการได้
อาการของโรคข้อเสื่อม

    ปวดลึกๆในข้อ, ขยับทิศทางข้อได้น้อยลง, ได้ยินเสียงจากข้อ(ได้ยินเสียงกร๊อบแกร๊บขณะขยับข้อ), ข้อเปลี่ยนรูป และมักมีอาการมากขึ้นช่วงเย็น(หลังจากการใช้งาน)

สาเหตุของโรคข้อเสื่อม

   ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป, อ้วน, พันธุกรรม, เคยบาดเจ็บบริเวณข้อ, มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคข้อรูมาตอยด์ และโรคเกาต์

การวินิจฉัยโรคข้อเสื่อม

   แพทย์จะซักประวัติ และตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น การขยับข้อเพื่อตรวจหาการอักเสบ และทิศทางของข้อที่สามารถขยับได้ นอกจากนั้นแพทย์จะส่งตรวจการถ่ายภาพทางรังสีบริเวณข้อนั้นๆ เพื่อหาลักษณะที่จำเพาะต่อโรคข้อเสื่อม

การรักษาโรคข้อเสื่อม

    โรคข้อเสื่อมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตามมีการรักษาหลายแนวทางที่ช่วยลด และควบคุมอาการได้
    - การดูแลตนเอง ได้แก่ การมีน้ำหนักที่เหมาะสม, ออกกำลังกายเป็นประจำ, ใส่รองเท้าที่นุ่ม และหนา เป็นต้น
    - การรักษาด้วยยา ได้แก่ การใช้ยาแก้ปวดทั้งชนิดกิน และทา
    - การรักษาโดยการผ่าตัด จะเลือกใช้เมื่อมีอาการปวดรุนแรง และไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยการผ่าตัดสาข้อเทียม
   - การรักษาทางเลือก เช่น การกิน Glucosamine ซึ่งช่วยได้ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น     












วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

โรคตับแข็งจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

โรคตับแข็งจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
Alcohol-induced cirrhosis

ภาวะตับแข็งเกิดจากเซลล์ของตับถูกแทนที่โดยเนื้อเยื่อพังผืด ทำให้ลักษณะเนื้อเยื่อตับที่ควรเรียบจะกลายเป็นก้อนและแข็งขึ้น นอกจากการดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดโรคตับแข็งแล้ว ยังมีสาเหตุของโรคตับแข็งมีหลายอย่าง เช่น การติดเชื้อตับอักเสบชนิด B หรือชนิด C และการเป็นโรคทางพันธุกรรมเกี่ยวกับตับบางอย่าง

การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปจะเริ่มทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับตับ เช่น โรคไขมันสะสมในตับ (Fatty liver disease) ซึ่งเป็นโรคตับที่ไม่รุนแรงและสามารถหายเป็นปกติได้ถ้าหยุดดื่ม แต่ถ้ายังมีการดื่มต่อเนื่องก็จะทำให้เป็นโรคที่รุนแรงขึ้น เช่น โรคตับอักเสบ หรือโรคตับแข็งซึ่งเป็นโรคตับจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่รุนแรงที่สุด

โรคตับแข็งแบ่งเป็นได้เป็นโรคตับแข็งระยะต้น (Compensated cirrhosis) และโรคตับแข็งระยะท้าย (Decompensated cirrhosis) ส่วนใหญ่ของผู้ที่มีโรคตับแข็งระยะต้นจะมีอาการน้อยหรืออาจไม่มีอาการเลย แต่ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมก็มีแนวโน้มที่จะมีการดำเนินของโรคไปเป็นโรคตับแข็งระยะท้ายที่จะมีอาการรุนแรงและมักมีภาวะแทรกซ้อน

อาการของโรคตับแข็งที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ในระยะแรกของโรคตับแข็งอาจไม่มีอาการใด ๆ เลยนอกจากผลการตรวจเลือดที่บ่งบอกความผิดปกติหรืออาจจะมีอาการต่อไปนี้
  • รู้สึกไม่สบาย เบื่ออาหาร อยากอาเจียน
  • คันตามผิวหนัง
  • น้ำหนักตัวลดลง
เมื่อโรคดำเนินต่อเนื่องอาการที่มีอาจรวมถึง:
  • สีผิวหนังและสีของตาขาวออกสีเหลืองที่เรียกว่าดีซ่าน
  • ช่องท้องและขาบวม
  • กล้ามเนื้อลีบเล็กลง
  • ปรากฏเส้นเลือดฝอยเหมือนแมงมุมบนผิวหนัง
  • ผิวหนังช้ำและมีเลือดออกง่าย
  • อาเจียนเป็นเลือดหรือมีเลือดในอุจจาระ
  • รู้สึกสับสนหรือความจำไม่ดี
  • อุณหภูมิร่างกายสูงจากการมีไข้เพราะมีการติดเชื้อ
  • การเปลี่ยนแปลงที่แสดงลักษณะทางเพศ เช่น ในผู้ชายอาจสังเกตเห็นว่าเส้นขนตามร่างกายน้อยลง ลูกอัณฑะฝ่อเล็กลง (testicular atrophy) และมีเนื้อเยื่อเต้านมมากขึ้น (gynaecomastia) ถ้าเป็นผู้หญิงอาจจะมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ
ภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็งที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เนื้อเยื่อที่เป็นพังผืดจะขัดขวางการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงตับ ทำให้หลอดเลือดดำพอร์ทอลที่เชื่อมต่อระหว่างลำไส้และตับมีความดันสูงขึ้น (Portal hypertension) ความดันที่สูงนี้จึงดันเลือดที่จะไหลไปที่หัวใจให้ไหลผ่านเส้นเลือดอื่นแทนที่จะผ่านตับ เป็นผลทำให้มีการขยายของเส้นเลือดในเยื่อบุกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร เกิดเป็นภาวะเส้นเลือดขอด (varices) ซึ่งถ้ามีเลือดออกด้วยอย่างช้าๆ ก็จะทำให้เกิดโรคโลหิตจาง และยังเป็นภาวะเสี่ยงที่จะมีเลือดออกอย่างรุนแรงที่ต้องรักษาฉุกเฉิน

โรคตับแข็งนอกจากสามารถนำไปสู่??ภาวะตับวาย (Liver failure) แล้ว ยังสามารถนำไปสู่กลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับ (Hepatorenal syndrome) และสมองทำงานผิดปกติ (Encephalopathy) ได้ อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งตับด้วย

สาเหตุของการเกิดโรคตับแข็งจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

โดยปกติแล้วเนื้อเยื่อตับสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่ถ้าเซลล์ได้รับความเสียหายมากเกินไปก็จะกลายเป็นเหมือนแผลเป็นที่เป็นพังผืดถาวร ส่งผลให้ตับไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถของตับในการกำจัดสารเคมีและยาต่างๆ ออกไปจากร่างกายลดลง ซึ่งอาจทำให้เกิดสารที่เป็นสารพิษหรือสารอันตรายตกค้างอยู่ในร่างกาย

การวินิจฉัยของโรคตับแข็งที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคเกี่ยวกับตับ (Hepatologist) จะถามเกี่ยวกับอาการและอาจตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการดังต่อไปนี้
  • การตรวจเลือดรวมถึงการทดสอบการทำงานของตับ
  • การตรวจด้วยอัลตราซาวด์ หรือเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วย CT scan หรือ MRI
  • การตรวจชิ้นเนื้อตับ (Liver biopsy)
การรักษาโรคตับแข็งจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การดูแลตนเอง

แม้ว่าโรคตับแข็งจะไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ แต่คุณก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายมากขึ้น โดยวิธีที่ดีที่สุดคือการหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งหากคุณพบว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะหยุดดื่มก็ควรปรึกษาแพทย์

การใช้ยารักษา

แพทย์สามารถให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการบางอย่างได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีความดันโลหิตเส้นเลือดดำพอร์ทอลสูง (Portal hypertension) คุณอาจจะได้รับยาลดความเสี่ยงของการมีเลือดออก หรือหากมีอาการบวมในช่องท้อง แพทย์อาจให้ยาขับปัสสาวะเพื่อช่วยขจัดน้ำออกไป

ศัลยกรรม

การปลูกถ่ายตับจะเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีภาวะตับวาย ซึ่งหากได้รับการปลูกถ่ายตับคุณต้องหยุดดื่มแอลกอฮอล์ไปตลอดชีวิต

การป้องกันโรคตับแข็งที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

วิธีที่ดีที่สุดคือการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มโดยมีคำแนะนำดังนี้
  • ผู้หญิงไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมากกว่า 2-3 หน่วยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อวัน
  • ผู้ชายไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมากกว่า 3-4 หน่วยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อวัน
ตัวอย่างต่อไปนี้จะช่วยให้คุณรู้ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม
  • น้ำผลไม้ที่มีแอลกอฮอล์ 6% ปริมาณ 1 ไพน์ (568 มิลลิลิตร) จะเทียบเท่าแอลกอฮอล์ 3.4 หน่วย
  • เบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ 5% ปริมาณ 1 ไพน์ (568 มิลลิลิตร) จะเทียบเท่าแอลกอฮอล์ 2.8 หน่วย
  • ไวน์ที่มีแอลกอฮอล์ 13% ปริมาณ 1 แก้วมาตรฐาน (175 มิลลิลิตร) จะเทียบเท่าแอลกอฮอล์ 2.3 หน่วย
  • ไวน์ที่มีแอลกอฮอล์ 12% ปริมาณ 1 แก้วขนาดใหญ่ (250 มิลลิลิตร) จะเทียบเท่าแอลกอฮอล์ 3 หน่วย
  • เหล้าที่มีแอลกอฮอล์ 40% ปริมาณ 1 หน่วยตวง (25 มิลลิลิตร) จะเทียบเท่าแอลกอฮอล์ 1 หน่วย

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โรคหลอดเลือดหัวใจ






อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคนี้พัฒนาอย่างช้า ๆ ใช้เวลาหลายปี การหายใจเหนื่อยหอบเมื่อออกกำลังกายเป็นสิ่งเดียวที่เป็นอาการของโรค ทำให้ไม่ทราบว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นจนกระทั่งมีอาการเจ็บหน้าอก (angina) หรือมีอาการหัวใจวาย
 
เจ็บหน้าอก อาการเจ็บหน้าอกเกิดเมื่อเลือดที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงหรือชะงักไป  อาการนี้มักเกิดเมื่อออกแรงมาก ๆ หรือมีอารมณ์โกรธหรือจิตใจเครียด  นอกจากนี้ยังอาจเกิดเมื่อถูกอากาศเย็น ๆ หรือหลังรับประทานอาหารอิ่มจัด อาจมีอาการดังต่อไปนี้  ความรู้สึกไม่สบายหรือจุกแน่นยอดอก  เจ็บร้าวที่คอ ขากรรไกร ลำคอ หลัง หรือแขน  เหนื่อยหอบ หายใจขัด อาการมักเป็นนาน ๒-๓ นาที แล้วหายไปเมื่อได้พัก หรือหยุดกระทำสิ่งที่เป็นสาเหตุชักนำ บางครั้งก็หายไปเองเมื่อออกกำลังกายไปเรื่อย ๆ
 
หัวใจวาย การเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดหัวใจทำให้ปิดกั้นหลอดเลือดแดงอย่างสมบูรณ์  เลือดและออกซิเจนไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจวาย อาการหัวใจวายเกิดได้โดยไม่ต้องมีอาการเจ็บหน้าอกหรืออาการอื่น ๆ มาก่อน และอาจรวมถึงอาการเหล่านี้  รู้สึกหนักหรือบีบเค้นในใจกลางของหน้าอก  เจ็บร้าวแพร่กระจายไปยังแขน  คอ ขากรรไกร ใบหน้า หลัง หรือท้อง  รู้สึกวิงเวียน  หายใจขัด เหงื่อแตก ความรู้สึกป่วยหรืออาเจียน  เป็นไปได้ว่าคนไข้อาจไม่มีอาการใด ๆ เรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจตาย และเป็นความเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นโรคเบาหวานอยู่
 
หัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจทำให้หัวใจอ่อนแอและนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งหมายถึงไม่แข็งแรงพอที่จะสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เหนื่อยได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ ยังอาจทำให้ข้อเท้าและขาบวมได้
 
หัวใจเต้นผิดจังหวะ หากกล้ามเนื้อหัวใจได้รับความเสียหายหรือตาย อาจจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ (จังหวะ) ซึ่งอาจค่อย ๆ พัฒนาไปเมื่อโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นมากขึ้น อาจจะรู้สึกใจสั่น หายใจไม่ทั่วท้อง หรืออาจจะไม่สังเกตเห็นมันเลยก็ได้ ภาวะที่ร้ายแรงที่สุดคือ อาจจะทำให้หัวใจหยุดเต้นโดยสิ้นเชิง (หัวใจวาย)
 
สาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการสะสมของไขมันบนผนังหลอดเลือดแดง พบมากในผู้สูงอายุ ปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ มีดังนี้  การสูบบุหรี่  การมีน้ำหนักเกิน การดำเนินชีวิตอย่างเฉื่อยชา  เป็นโรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  คอเลสเตอรอลสูง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป  ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ
รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ความเครียดและภาวะซึมเศร้า
 
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ  แพทย์จะสอบถามอาการและตรวจร่างกาย สอบถามเกี่ยวกับประวัติความเจ็บป่วย และอาจให้เข้ารับการตรวจเลือดเพื่อดูระดับไขมัน คอเลสเตอรอล น้ำตาล และโปรตีน  วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง  การเอ็กซเรย์ทรวงอก เป็นต้น 
 
ทางเลือกสำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ  มีทางเลือกในการรักษาหลายทางขึ้นอยู่กับสถานการณ์ส่วนบุคคล เช่น

       การดูแลตัวเอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตอาจจะช่วยลดอาการ หรือป้องกันอาการหัวใจวาย แต่มักจะไม่เพียงพอ  แพทย์อาจจะยังแนะนำให้ใช้ยาและรับการรักษาอื่น ๆ
 
       การใช้ยา ยาใช้ลดอาการ ทำให้อาการไม่เลวร้ายลง หรือป้องกันหัวใจวายในอนาคต  มียาหลากหลายที่ใช้ในการรักษาโดยตัวยาทำงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน ยาที่นิยมใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่  ยาต้านการแข็งตัวของเลือด  เช่นแอสไพริน
ยาลดคอเลสเตอรอล เช่น ยากลุ่ม statin,  Beta-blockers,  ACE inhibitors, Angiotensin II,  Anticoagulants, ไนเตรท, Antiarrhythmic,  Nicorandil, Ranolazine เป็นต้น หากใช้ยาแล้วยังไม่เพียงพอ แพทย์อาจแนะนำให้พบผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ  เพื่อหารือเกี่ยวกับการรักษาวิธีอื่น ๆ เช่น  การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ และการผ่าตัดทําทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
 
       การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ  โดยการดำเนินชีวิตอย่างถูกสุขอนามัย งดสูบบุหรี่  ลดน้ำหนักส่วนเกิน  ออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โรคหลอดเลือดสมองแตก

โรคหลอดเลือดสมองแตก
Haemorrhagic Stroke


โรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นเมื่อภาวะของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเกิดการตีบ ตัน หรือ แตก กรณีภาวะเลือดออกในสมองคือ การที่หลอดเลือดแตกและเกิดการคั่งของเลือดรอบ ๆ เซลล์สมองกดดันเซลล์สมองจนเกิดความเสียหาย ส่งผลต่อการควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น  การเคลื่อนไหว การพูด การมองเห็น ตลอดจนภาวะทางด้านอารมณ์  ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ อาการมีแนวโน้มที่รุนแรงมากกว่าโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการตีบ หรือตันของหลอดเลือด

ประเภทของภาวะเลือดออกในสมอง  มีสองประเภทหลัก  คือ เลือดออกในสมอง และเลือดออกบนพื้นผิวรอบ ๆ เนื้อสมอง

อาการของภาวะเลือดออกในสมอง  มักเกิดขึ้นทันทีทันใด ภายในไม่กี่วินาที หรือนาที  มีหลายอาการที่จะใช้สังเกตภาวะเลือดออกในสมอง  เช่น   ความผิดปกติของใบหน้า   แขนอ่อนแรง  และมีปัญหาทางการพูด  หากสังเกตว่ามีอาการอันหนึ่งอันใดหรือมากกว่าควรขอความช่วยเหลือจากแพทย์ทันที  อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น  ปวดศีรษะอย่างรุนแรงฉับพลัน  หมดสติ อาเจียน  คอเคล็ด   เกิดอาการชาหรือภาวะอ่อนแรง ขยับใบหน้าแขนหรือขาลำบากในซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย รู้สึกวิงเวียนและสูญเสียการทรงตัว  ไวต่อแสง  กระสับกระส่ายและสับสน  และ  ชัก

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะเลือดออกในสมอง  ภาวะเลือดออกในสมองทำให้เกิดการบาดเจ็บอย่างถาวร หรือแม้กระทั่งอันตรายถึงชีวิตได้  ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้มีดังนี้  ความอ่อนแรงหรืออัมพาต สูญเสียความรู้สึกซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย กลืนลำบาก เมื่อยล้าอย่างรุนแรงและมีปัญหาในการนอนหลับ  ปัญหากับการพูดการอ่านและการเขียน  ปัญหาการมองเห็น  เช่น ภาพซ้อน หรือตาบอดบางส่วน  ปัญหาความจำและสมาธิ  ปัญหาในการควบคุมการขับถ่ายหรือท้องผูก  การเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพและพฤติกรรม ปัญหาความวิตกกังวล ซึมเศร้า และอาการชัก มักจะดีขึ้นเมื่อร่างกายได้รับการฟื้นฟู  นอกจากนั้น หากเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ อาจมีความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ  หลอดเลือดดำอุดตัน ปอดบวม  และภาวะหดรั้งของกล้ามเนื้อ

สาเหตุของการเกิดภาวะเลือดออกในสมอง    มักมีสาเหตุจากความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดเสี่ยงกับการแตก ความดันโลหิตสูงอาจเกิดจาก รับประทานเกลือและน้ำตาลมากเกินไปและผลไม้หรือผักน้อยเกินไป  ไม่ออกกำลังกายมากพอ มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป  ความเสี่ยงของภาวะนี้มากขึ้นตามอายุ นอกจากนี้ สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ หลอดเลือดแดงในสมองโป่งพอง ความผิดปกติของผนังหลอดเลือดในสมอง  หลอดเลือดฝอยผิดปกติ  การใช้ยาละลายลิ่มเลือด การเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือโรคเลือดแข็งตัวช้า การใช้ยาเสพติด เช่น โคเคน  มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ

การวินิจฉัย   แพทย์จะทำการตรวจเพื่อระบุประเภทของโรคหลอดเลือดสมองและตำแหน่งของสมองที่ผิดปกติ อาจวัดความดันโลหิตและวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ  ตรวจเลือดเพื่อวัดระดับคอเลสเตอรอล น้ำตาลในเลือด และการแข็งตัวของเลือด  ตรวจสมองด้วย CT หรือ MRI เพื่อดูว่าสมองมีภาวะขาดเลือดหรือภาวะเลือดออกในสมองหรือไม่ และอาจมีการตรวจอื่น ๆ หากจำเป็น

การรักษาภาวะเลือดออกในสมอง   ระยะเวลาในการรักษาที่โรงพยาบาลจะแตกต่างขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ  และความบาดเจ็บที่เกิดขึ้น

การรักษาด้วยยา  จะขึ้นอยู่กับชนิดของภาวะเลือดออกในสมองและยารักษาโรคที่คนไข้ใช้อยู่แล้ว  เช่น หากมีภาวะเลือดออกในสมองและคนไข้ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่ อาจจำเป็นต้องใช้ยาที่มีผลในทางตรงกันข้าม เพื่อให้เลือดแข็งตัวและหยุดไหลในสมอง นอกจากนี้  อาจได้รับยาป้องกันไม่ให้เกิดอาการชัก  ยาลดความดันโลหิต  ยาขับปัสสาวะเพื่อใช้ในการลดความดันในสมอง หรือหากมีภาวะเลือดออกบนพื้นผิวรอบ ๆ เนื้อสมองแพทย์อาจให้ยา nimodipine

การผ่าตัด   หากมีภาวะเลือดออกในสมอง มีความเสี่ยงที่เลือดจะแข็งตัวและเกิดการอุดตันทำให้หยุดการไหลของน้ำไขสันหลังที่อยู่รอบ ๆ สมองและทำให้เกิดความดัน แพทย์อาจใส่ท่อระบายน้ำเพื่อระบายเอาของเหลวส่วนเกินออก หากมีภาวะเลือดออกในสมองในส่วนด้านหลังของสมอง อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อระบายเลือดออกไป   หากมีภาวะเลือดออกที่เกิดจากหลอดเลือดสมองโป่งพอง คุณอาจจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อลดความเสี่ยงของการมีเลือดออกมากกว่านี้  นอกจากนี้ยังมีมีการผ่าตัดที่อื่น ๆ ได้อีก เช่น การใส่ขดลวดเพื่อหยุดการเลือดออก  อาจจะมีการผ่าตัดเปิดโดยการเปิดกะโหลกศีรษะคนไข้และห้ามเลือดในจุดที่มีเลือดไหล

การฟื้นฟูสมรรถภาพ หลังรับการรักษา  คนไข้อาจจำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะและความสามารถหรือเรียนรู้วิธีการใหม่ ๆ เพื่อรับมือกับความเจ็บป่วยและความพิการที่หลงเหลืออยู่  อาจใช้เวลายาวนานหลายปีกว่าจะหายเป็นปกติจากโรคนี้  ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพด้านต่าง ๆ จะช่วยกันจัดทำ โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับคนไข้แต่ละคน เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะและมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้คนไข้สามารถดูแลตนเองได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ในระยะยาว

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โรคเมอร์ส (MERS)




องค์ความรู้เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2012 (Middle East Respiratory Syndrome: MERS) หรือโรคเมอร์ส


1. ลักษณะโรค : โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2012 หรือกลุ่มอาการทางเดินหายใจตะวันออกกลาง Middle East Respiratory Syndrome: MERS หรือโรคเมอร์ส เป็นเชื้อสายพันธุ์หนึ่งในกลุ่มไวรัสโคโรนา (MERS Corona Virus :MERS CoV) ขณะนี้พบว่า การระบาดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลาง และล่าสุดมีการระบาดที่เกาหลีใต้ซึ่งมีรายงานการติดเชื้อจากคนสู่คนในวงจํากัด ซึ่งพบในกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันหลายกลุ่ม ได้แก่ ผู้ดูแลใกล้ชิด สมาชิกครอบครัวเดียวกัน บุคลากรทางการแพทย์แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายของเชื้อในวงกว้าง 



          ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2557 พบจํานวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น โดยบางรายไม่มีรายงานการยืนยันทางห้องปฏิบัติการ และในบางรายมีประวัติสัมผัสกับสัตว์และดื่มน้ํานมดิบจากสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอูฐ อูฐจึงเป็นสัตว์รังโรคหลักที่อาจนําเชื้อมาสู่คนได้ขณะนี้ข้อมูลจากองค์การอนามัยโรค แจ้งว่าเป็นการติดเชื้อระหว่างสัตว์สู่คน สําหรับการแพร่เชื้อระหว่างคนสู่คนสามารถแพร่ผ่านทางเสมหะของผู้ป่วยจากการไอ เป็นต้น และมักเกิดจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยมิได้มีการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ MERS CoV มักมีอาการไข้ไอ นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางราย จะมีอาการในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องร่วง ร่วมด้วย บางรายที่มีอาการรุนแรงจะมีหายใจหอบ และหายใจลําบาก ปอดบวม รายงานจํานวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต ร้อยละ 36



2. สถานการณ์ : ทั่วโลก ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2558 องค์การอนามัยโลก รายงานพบผู้ป่วยยืนยัน จํานวน 1,190 ราย เสียชีวิต 444 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.31 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 66) อายุเฉลี่ย 49 ปีโดยพบรายงานผู้ป่วยทั้งหมดจาก 25 ประเทศ ดังต่อไปนี้



   - กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง 10 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อียิปต์ อิหร่าน จอร์แดน คูเวต เลบานอน กาตาร์โอมาน และเยเมน
   - กลุ่มประเทศยุโรป 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมัน กรีซ อิตาลีเนเธอร์แลนด์ตุรกี และอังกฤษ
   - กลุ่มประเทศแอฟริกา 2 ประเทศ ได้แก่อัลจีเรีย และตูนีเซีย
   - กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ ได้แก่สหรัฐอเมริกา
   - กลุ่มประเทศเอเชีย 3 ประเทศ ได้แก่มาเลเซีย ฟิลิปปินส์เกาหลีใต้และจีนแผ่นดินใหญ่



          โดยผู้ป่วยส่วนมาก (ร้อยละ 85 ) เป็นผู้ป่วยที่มาจากประเทศซาอุดิอาระเบีย ทั้งนี้ในปี 2558 พบผู้ป่วยโรคเมอร์ส ใน 10 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อิหร่าน โอมาน กาตาร์จอร์แดน เยอรมัน จีน ฟิลิปปินส์และเกาหลีใต้ และรายงานการระบาดในประเทศเกาหลีใต้ ณ วันที่ 5 มิถุนายน ๒๕๕๘ องค์การอนามัยโลกได้รายงานอย่างเป็นทางการ พบผู้ป่วยที่ประเทศเกาหลีใต้จํานวน 36 ราย ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นผู้ที่มีประวัติสัมผัสเชื้อในประเทศเกาหลีใต้และเดินทางผ่านฮ่องกงไปยังประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ 1 ราย และมีผู้เสียชีวิต 3 ราย ซึ่งจากจํานวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในสถานพยาบาล และการติดเชื้อในบ้าน และองค์การอนามัยโลกรายงานข้อมูลเพิ่มเติมว่าพบการติดเชื้อของผู้ป่วยในรุ่นที่ 3 แล้ว ประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยง
จากผู้เดินทางไปมาระหว่างประเทศที่มีการระบาด ประกอบกับประชาชนชาวไทยเดินทางไปแสวงบุญในประเทศแถบตะวันออกกลาง และมีนักท่องเที่ยวจากประเทศแถบตะวันออกกลางที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย



3. เชื้อก่อโรค : เชื้อไวรัสโคโรนา (MERS CoV)



4. อาการของโรค : ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ MERS CoV บางรายไม่มีอาการ ในรายที่มีอาการบางรายมีอาการทางระบบทางเดินหายใจเล็กน้อย เช่น ไข้ไอ นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางราย จะมีอาการในระบบทางเดินอาหารได้แก่ ท้องร่วง ร่วมด้วย และบางรายอาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจรุนแรง และถึงแก่ชีวิตได้ ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงอาจทําให้เกิดระบบทางเดินหายใจล้มเหลว จึงควรได้รับการดูแลในห้องดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ (intensive care unit) โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หายใจหอบ และหายใจลําบาก ปอดบวม ซึ่งในจํานวนผู้ป่วยทั้งหมด พบว่าจะมีรายงานจํานวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต ร้อยละ 36 ส่วนในผู้ที่มีโรคประจําตัวซึ่งทําให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ ลดน้อยลง การแสดงของโรคอาจมีความแตกต่างออกไป



5. ระยะฟักตัวของโรค : มีระยะฟักตัว 2-14 วัน



6. วิธีการแพร่โรค : ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2014 พบจํานวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบางรายไม่มีรายงานการยืนยันทางห้องปฏิบัติการ และในบางรายมีประวัติสัมผัสกับสัตว์และดื่มน้ํานมดิบจากสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอูฐ อูฐจึงเป็นสัตว์รังโรคหลักที่อาจนําเชื้อมาสู่คนได้ ขณะนี้ข้อมูลจากองค์การอนามัยโรค แจ้งว่าเป็นการติดเชื้อระหว่างสัตว์สู่คน สําหรับการแพร่เชื้อระหว่างคนสู่คนสามารถแพร่ผ่านทางเสมหะของผู้ป่วยจากการไอ เป็นต้น และมักเกิดจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยมิได้มีการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาล



7. การรักษา : เป็นการรักษาตามอาการแบบประคับประคอง ยังไม่มีวัคซีน และยารักษาที่จําเพาะ



8. การป้องกัน :



• สําหรับผู้เดินทาง/นักท่องเที่ยว
          จากข้อมูลที่มีในปัจจุบัน พบว่ากลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง ได้แก่กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคไตวาย หรือผู้ที่ภูมิต้านทานต่ํา ควรระมัดระวังเป็นพิเศษหากท่านเดินทางเข้าในประเทศที่มีการระบาด และเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม หรือสถานที่เก็บผลผลิตทางการเกษตร และหรือในพื้นที่ตลาดที่มีอูฐอยู่และควรปฏิบัติตน ดังนี้
   - หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ที่มีอาการไอ หรือจาม
   - ผู้มีโรคประจําตัวที่เสี่ยงต่อการป่วย อาจพิจารณาสวมหน้ากากป้องกันโรค และเปลี่ยนบ่อยๆ เมื่อเข้าไปในสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันมากๆ
   - ควรล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยสัมผัส
   - หลีกเลี่ยงการเข้าไปสัมผัสกับฟาร์มสัตว์หรือสัตว์ป่าต่างๆ หรือดื่มนมสัตว์โดยเฉพาะอูฐ ซึ่งอาจเป็นแหล่งรังโรคของเชื้อได้
   - ถ้ามีอาการไข้ไอ มีน้ํามูกเจ็บคอ (มีอาการรุนแรงที่ส่งกระทบต่อกิจวัตรประจําวันปกติ) ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสคลุกคลีกับบุคคลอื่นเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ เมื่อไอ หรือจามควรใช้กระดาษชําระปิดปาก และจมูกทุกครั้ง และทิ้งกระดาษชําระที่ใช้แล้วลงในถังขยะที่ปิดมิดชิด และล้างมือให้สะอาด กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ควรไอหรือจามลงบนเสื้อผ้าบริเวณต้นแขน ไม่ควรจามรดมือและรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่



• สําหรับประชาชนทั่วไป
   - หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ที่มีอาการไอ หรือจาม
   - ควรล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือสิ่งแวดล้อมที่ผู้ป่วยสัมผัส
   - เมื่อเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม หรือพื้นที่โรงเก็บผลผลิตทางการเกษตร ควรรักษาสุขอนามัย ทั่วไป เช่น ล้างมือเป็นประจํา ก่อน และหลังการสัมผัสสัตว์หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่วย และรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย



• สําหรับสถานพยาบาล
          เนื่องจาก พบรายงานการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล (Hospital Setting) สู่บุคคลในครอบครัวได้แก่ ญาติที่ไปเยี่ยม และให้การดูแลผู้ป่วย ผู้ที่มารับการรักษาให้หอผู้ป่วยเดียวกัน และผู้สัมผัสใกล้ชิด (Family cluster and closed contact cluster) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และการแยกผู้ป่วย(Isolation Precautions) องค์การอนามัยโลกแนะนําการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และแยกผู้ป่วย โดยใช้หลักการของ Standard precautions รวมถึง Hand hygiene, Respiratory hygiene and coughetiquette, Safe injection practices และข้อปฏิบัติอื่นๆ โดยพบว่า โรคติดเชื้อ ทางเดินหายใจโดยทั่วไป ใช้ droplet precautions และ contact precautions สําหรับโรค MERS ส่วนใหญ่เป็น droplettransmission ถ้าไอ จาม ในระยะ 1 เมตร สามารถ แพร่กระจายเชื้อได้อย่างไรก็ตาม airbornetransmission มีความเป็นไปได้ขณะนี้พบว่าอัตราตายของโรคเมอร์ส ค่อนข้างสูง (ร้อยละ 30 - 50)



          ดังนั้น องค์การอนามัยโลก และศูนย์ป้องกัน และควบคุมโรคแห่งชาติประเทศ สหรัฐอเมริกา (US CDC) จึงแนะนําให้ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบ Airborne precautions โดยเฉพาะ ผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวม หรือไอมากรวมทั้งหัตถการที่ก่อให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็ก เช่น การใส่ท่อช่วย หายใจ การดูดเสมหะ การเก็บเสมหะ
การพ่นยา เป็นต้น

บทความที่ได้รับความนิยม