วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เตือนใช้ผงปรุงรสเสี่ยงป่วยโรคหัวใจ

เตือนใช้ผงปรุงรสเสี่ยงป่วยโรคหัวใจเหตุกินเกลือเกิน-จี้แก้พฤติกรรม

เตือนใช้ผงปรุงรสเสี่ยงป่วยโรคหัวใจเหตุกินเกลือเกิน-จี้แก้พฤติกรรม

ผศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงกรณีที่ประชาชนมีความนิยมในการใช้ผงปรุงรส หรือก้อนปรุงรสเพิ่มมากขึ้นว่า จากการเก็บข้อมูลส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ประเภทดังกล่าว พบว่าส่วนผสมส่วนใหญ่ร้อยละ 40ประกอบไปด้วยโซเดียมหรือเกลือ รองลงมาคือ ไขมันปาล์มร้อยละ 18-20และผงชูรสร้อยละ 15-20แต่หากเป็นชนิดที่ไม่มีผงชูรส ก็จะเปลี่ยนเป็นเกลือเพิ่มขึ้น และน้ำตาล ร้อยละ 8-10เพื่อทำให้มีรสชาติกลมกล่อมขึ้น นอกจากนี้ก็จะมีเนื้อสัตว์อบแห้งเพื่อเลียนแบบของธรรมชาติ โดยทั้งผลิตภัณฑ์ชนิดก้อนและผงมีส่วนประกอบที่ไม่ต่างกันมากนัก

ผศ.ดร.วันทนีย์กล่าวว่า สำหรับข้อกังวลด้านโภชนาการ ในการเติมส่วนประกอบดังกล่าวลงในอาหาร คือ อาจทำให้ผู้บริโภคได้รับปริมาณโซเดียมที่สูงเกินไป โดยพบว่าก้อนปรุงรส 1ก้อน มีปริมาณโซเดียม 1,800 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา โดยปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันอยู่ที่ 1,000-1,500 มิลลิกรัม ปริมาณสูงสุดไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม ซึ่งในการบริโภคแต่ละวัน จะได้รับโซเดียมจากแหล่งต่างๆ อยู่แล้ว ทั้งในผัก ผลไม้ และจากการเติมเครื่องปรุงรสต่างๆ ทำให้เมื่อใส่ผงปรุงรสโอกาสที่จะได้รับโซเดียมเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการ และหากรับประทานติดต่อกันอย่างต่อเนื่องก็ทำให้เกิดผลต่อสุขภาพได้ในที่สุด

"ประชาชนสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยการใช้ผักทดแทน เช่น แครอต หัวไช้เท้า กระดูก เพราะการเติมผงหรือก้อนปรุงรสมีความเสี่ยงที่จะทำให้ได้รับโซเดียมเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการ และพบว่าประชาชนมักเพิ่มเครื่องปรุงชนิดอื่นลงไปอีก ทั้งซีอิ๊ว น้ำปลา น้ำตาล ยิ่งทำให้ได้รับปริมาณเพิ่มขึ้น โดยการได้รับโซเดียมมาก สัมพันธ์กับโรคความดัน ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเส้นเลือด หัวใจ หลอดเลือดสมอง หากเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ก็จะยิ่งได้รับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีก" ผศ.ดร.วันทนีย์กล่าว


บทความที่ได้รับความนิยม