สาเหตุการเกิดโรคไข้มาลาเรีย
เกิดจากเชื้อมาลาเรีย ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว หรือโปรโตซัว (Protozoa) เช่นเดียวกับบิดอะมีบา มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค คือต้องถูกยุงที่มีเชื้อมาลาเรียกัดจึงจะเป็นโรค หรือไม่ก็อาจเกิดจากการได้รับเลือดจากคนที่มีเชื้ออยู่
อาการโรคไข้มาลาเรีย
อาการจะเกิดหลังจากได้รับเชื้อโดยถูกยุงก้นปล่องกัดประมาณ 10-14 วัน (แต่อาจนานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนก็ได้) ไข้ที่เกิดจากเชื้อ พลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม จะเกิดทุก 2 วัน ส่วนไข้ที่เกิดจากเชื้อ พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ จะเกิดทุก 3 วัน ใน 2-3 วันแรก อาจมีอาการปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามตัวคล้าย ไข้หวัดใหญ่ ต่อมาจึงจะมีอาการไข้จับสั่นเป็นเวลา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของมาลาเรีย
วิธีการป้องกัน
(1) ป้องกันไม่ให้ยุงกัดโดยนอนในมุ้งหรือมุ้งชุบน้ำยากันยุง หรือทาสารกันยุง
(2) ทำลายแหล่งแพร่ยุง เช่นที่น้ำขัง
(3) หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่มีมีการแพร่โรคสูง
(4) แรงงานหรือกลุ่มคนที่เคลื่อนย้ายมาจากประเทศเพื่อนบ้านต้องได้รับการตรวจหาเชื้อและถ้าพบต้องรักษา
เกิดจากเชื้อมาลาเรีย ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว หรือโปรโตซัว (Protozoa) เช่นเดียวกับบิดอะมีบา มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค คือต้องถูกยุงที่มีเชื้อมาลาเรียกัดจึงจะเป็นโรค หรือไม่ก็อาจเกิดจากการได้รับเลือดจากคนที่มีเชื้ออยู่
อาการโรคไข้มาลาเรีย
อาการจะเกิดหลังจากได้รับเชื้อโดยถูกยุงก้นปล่องกัดประมาณ 10-14 วัน (แต่อาจนานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนก็ได้) ไข้ที่เกิดจากเชื้อ พลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม จะเกิดทุก 2 วัน ส่วนไข้ที่เกิดจากเชื้อ พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ จะเกิดทุก 3 วัน ใน 2-3 วันแรก อาจมีอาการปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามตัวคล้าย ไข้หวัดใหญ่ ต่อมาจึงจะมีอาการไข้จับสั่นเป็นเวลา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของมาลาเรีย
วิธีการป้องกัน
(1) ป้องกันไม่ให้ยุงกัดโดยนอนในมุ้งหรือมุ้งชุบน้ำยากันยุง หรือทาสารกันยุง
(2) ทำลายแหล่งแพร่ยุง เช่นที่น้ำขัง
(3) หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่มีมีการแพร่โรคสูง
(4) แรงงานหรือกลุ่มคนที่เคลื่อนย้ายมาจากประเทศเพื่อนบ้านต้องได้รับการตรวจหาเชื้อและถ้าพบต้องรักษา