วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559
5 อาหารช่วยลดน้ำหนัก มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ไข่ ถือได้ว่าเป็นอาหารที่ผู้คนส่วนใหญ่ เลือกจะรับประทานเป็นประจำอยู่แล้ว แถมยังมีรสชาติอร่อย สามารถนำมาจัดทำได้หลากหลายเมนูด้วยกัน แต่หลาย ๆ คนกังวลมากจนเกินไปว่าไข่นั้น จะช่วยเพิ่มระดับคอเลสตอรอลในร่างกาย ทำให้ลดน้ำหนักยาก แต่สิ่งนี้เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะในนั้นไข่อุดมไปด้วยโปรตีนสูง และยังมีวิตามิน และเกลือแร่ ที่จะช่วยทำให้การลดน้ำหนักมีประสิทธิ์ภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และทำให้คุณมีหุ่นผอมเพรียว และสุขภาพดีขึ้นได้
ปลาที่มีกรดไขมันสูง หากพูดถึงอาหารสุขภาพ เนื้อสัตว์อย่างปลา ดูเหมือนจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนรักสุขภาพโดยตรง เพราะในเนื้อปลานั้น มีโปรตีนที่ย่อยง่ายและยังมีแคลอรี่ต่ำ อีกทั้งยังปลอดภัยกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น เพราะเป็นเนื้อสัตว์ที่อุดมไปด้วย โอเมก้า 3 มีประสิทธิภาพในการช่วยลดอาการอักเสบที่เกิดขึ้นได้ ภายในระบบเนื้อเยื้อของร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ ช่วยบำรุงสมอง และยังช่วยลดน้ำหนักได้อย่างเป็นธรรมชาติ
ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเปลือกแข็งนั้น เป็นแหล่งสะสมของโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพร่างกาย และยังอุดมไปด้วยไขมัน และไฟเบอร์ ซึ่งจะช่วยทำให้เรารู้สึกอิ่มได้เร็วขึ้น ทานได้น้อยลง ไขมันที่มีอยู่ในถั่วนั้นดีต่อสุขภาพอย่างมาก ช่วยเพิ่มไขมันที่ดีให้กับร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ แต่ก็ไม่ควรทานมากจนเกินไป ควรทานวันละไม่เกิน 1 กำมือ
น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะพร้าว นับว่าเป็นน้ำมันที่ได้จากธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากมาย ช่วยป้องกันโรคร้ายได้หลายอย่าง ซึ่งกรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวนั้น จะช่วยไปต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย และช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย ซึ่งมันมีผลโดยตรงต่อการลดน้ำหนัก เพียงแค่ทานน้ำมันมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน เพียงแค่นี้ ก็จะช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้แล้ว
อโวคาโด สำหรับ อโวคาโด ถือได้ว่าเป็นผลไม้ที่มีไขมันสูงมาก แต่ไขมันในอโวคาโดเป็นไขมันดี ซึ่งจะเป็นตัวป้องกัน ไม่ให้เรามีไขมันสะสมบริเวณเอว ทั้งยังช่วยลดการสะสมคอเลสตอรอลในร่างกายได้ เป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ นอกจากนี้มันยังอุดมไปด้วย วิตามินอี และยังเต็มไปด้วยแร่ธาตุ และวิตามินกว่า 20 ชนิด ลดน้ำหนักได้ง่ายยิ่งขึ้น แถมยังส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ ยังทำให้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำหนักส่วนเกิน และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้เงินไปจ่ายค่าคอร์สลดน้ำหนักแพง ๆ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด
ขอบคุณที่มา : 5 อาหารช่วยลดน้ำหนัก มีประโยชน์ต่อร่างกายอโวคาโด สำหรับ อโวคาโด ถือได้ว่าเป็นผลไม้ที่มีไขมันสูงมาก แต่ไขมันในอโวคาโดเป็นไขมันดี ซึ่งจะเป็นตัวป้องกัน ไม่ให้เรามีไขมันสะสมบริเวณเอว ทั้งยังช่วยลดการสะสมคอเลสตอรอลในร่างกายได้ เป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ นอกจากนี้มันยังอุดมไปด้วย วิตามินอี และยังเต็มไปด้วยแร่ธาตุ และวิตามินกว่า 20 ชนิด ลดน้ำหนักได้ง่ายยิ่งขึ้น แถมยังส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ ยังทำให้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำหนักส่วนเกิน และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้เงินไปจ่ายค่าคอร์สลดน้ำหนักแพง ๆ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด
วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558
การรับมือกับโรคมะเร็ง
การรับมือกับโรคมะเร็งในการทำงาน
Coping with cancer and work
ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ป่วยมะเร็งหรือต้องดูแลผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง สมดุลชีวิตระหว่างบ้านและที่ทำงานอาจได้รับผลกระทบจนรู้สึกว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากจะยอมรับ ซึ่งผลกระทบจะมีมากน้อยเพียงไร โดยทั่วไปแล้วก็ขึ้นอยู่กับชนิดของงานที่คุณทำ
สิ่งที่ต้องคำนึงเมื่อทราบว่าเป็นมะเร็ง
คุณควรแจ้งหัวหน้างานหรือแผนกบุคคลให้ทราบโดยเร็วว่าคุณเป็นมะเร็ง เพราะโดยส่วนใหญ่คุณต้องหยุดงานบ่อยกว่าปกติเนื่องจากอาการป่วยหรือเพราะต้องไปตามนัดของแพทย์ คุณจึงควรปรึกษานายจ้างในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
ข้อกังวลทางการเงิน
หากคุณทำงานได้น้อยลงหรือต้องหยุดงานเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อภาวะทางการเงินของคุณ ซึ่งการนิ่งเฉยต่อเรื่องนี้ อาจจะยิ่งทำให้ปัญหาภาวะทางการเงินแย่ลง ดังนั้นคุณควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ไว้ด้วย
สิ่งต่อไปนี้อาจช่วยในการบริหารจัดการทางการเงินของคุณได้
การจัดการกับความเหน็ดเหนื่อยในที่ทำงาน
โรคมะเร็งและผลต่อเนื่องจากการรักษา มักทำให้เกิดความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าและอ่อนเพลียกว่าปกติ อาจทำให้มีปัญหาขาดสมาธิในการทำงาน หรือรู้สึกมีแรงจูงใจน้อยในการทำงาน ง่วงนอนในระหว่างวันและอาจมีความบกพร่องในการตัดสินใจ ทั้งหมดนี้สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของคุณ
ข้อแนะนำต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้คุณเอาชนะความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในการทำงานได้
การกลับเข้าทำงานใหม่
การต้องกลับไปทำงานหลังจากหยุดงานเป็นเวลานานอาจทำให้คุณรู้สึกหวั่นเกรง แต่การกลับไปทำงานได้อีกจะเป็นเครื่องช่วยยืนยันว่าการรักษาโรคกำลังเป็นไปอย่างราบรื่นและคุณกำลังจะกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรจะติดต่อสื่อสารให้นายจ้างรับทราบเกี่ยวกับอาการป่วยของคุณตลอดช่วงเวลาที่คุณหยุดพักรักษาตัวไป เพื่อที่นายจ้างจะได้เข้าใจและมีความคาดหวังที่ถูกต้องเมื่อคุณกลับจะเข้าทำงานอีกครั้ง
คุณสามารถกลับมาทำงานได้ง่ายขึ้นโดย
Coping with cancer and work
ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ป่วยมะเร็งหรือต้องดูแลผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง สมดุลชีวิตระหว่างบ้านและที่ทำงานอาจได้รับผลกระทบจนรู้สึกว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากจะยอมรับ ซึ่งผลกระทบจะมีมากน้อยเพียงไร โดยทั่วไปแล้วก็ขึ้นอยู่กับชนิดของงานที่คุณทำ
สิ่งที่ต้องคำนึงเมื่อทราบว่าเป็นมะเร็ง
คุณควรแจ้งหัวหน้างานหรือแผนกบุคคลให้ทราบโดยเร็วว่าคุณเป็นมะเร็ง เพราะโดยส่วนใหญ่คุณต้องหยุดงานบ่อยกว่าปกติเนื่องจากอาการป่วยหรือเพราะต้องไปตามนัดของแพทย์ คุณจึงควรปรึกษานายจ้างในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
- อธิบายให้นายจ้างทราบว่ามะเร็งที่เป็นจะมีผลกระทบกับงานอย่างไร ซึ่งอาจต้องขอเอกสารจากแพทย์ประกอบคำอธิบายเพื่อให้มีความเข้าใจโดยง่าย
- หากเป็นไปได้อาจเปลี่ยนงานที่ทำอยู่เป็นประจำ มาทำงานที่มีการยืดหยุ่นของเวลาในการทำงานมากขึ้น
- ระเบียบและวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อคุณต้องหยุดพักงานเนื่องจากอาการป่วย
- สิทธิและสวัสดิการการรักษาพยาบาล
- การสนับสนุนและการให้คำปรึกษา
- การช่วยเหลือสนับสนุนเมื่อคุณจะกลับมาทำงานอีกครั้ง
ข้อกังวลทางการเงิน
หากคุณทำงานได้น้อยลงหรือต้องหยุดงานเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อภาวะทางการเงินของคุณ ซึ่งการนิ่งเฉยต่อเรื่องนี้ อาจจะยิ่งทำให้ปัญหาภาวะทางการเงินแย่ลง ดังนั้นคุณควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ไว้ด้วย
- ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการไปพบแพทย์ หรือจากภาระที่อาจเพิ่มขึ้นอื่นๆ
- การจัดการกับรายได้ที่ลดลง
- ความครอบคลุมประกันสุขภาพที่คุณมีอยู่
- การชะลอแผนการใช้เงิน เช่น การย้ายบ้าน การท่องเที่ยว
- แผนการเกษียณอายุรวมถึงเงินบำนาญ
สิ่งต่อไปนี้อาจช่วยในการบริหารจัดการทางการเงินของคุณได้
- จัดทำแผนการเงิน โดยคำนวณรายรับและรายจ่าย ตัดลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก
- ตรวจสอบทรัพย์สินการจำนองต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับผลตอบแทนสูงสุด และควรคำนึงถึงอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำธุรกรรม
- ตรวจสอบและเปลี่ยนผู้ให้บริการที่จำเป็นต่างๆ ภายในบ้าน ที่ทำให้คุณประหยัดมากที่สุด เช่น ตัวแทนจำหน่ายและจัดส่งก๊าซที่ใช้ในครัวเรือน
- ตรวจสอบสิทธิการได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน เช่น เงินชดเชยกรณีไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากการเจ็บป่วย ซึ่งคุณอาจมีสิทธิได้รับค่าจ้างหรือเงินชดเชยจากการเจ็บป่วย โดยควรปรึกษานายจ้างหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อขอรับสิทธิที่คุณควรได้จากหน่วยงานต่างๆ
การจัดการกับความเหน็ดเหนื่อยในที่ทำงาน
โรคมะเร็งและผลต่อเนื่องจากการรักษา มักทำให้เกิดความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าและอ่อนเพลียกว่าปกติ อาจทำให้มีปัญหาขาดสมาธิในการทำงาน หรือรู้สึกมีแรงจูงใจน้อยในการทำงาน ง่วงนอนในระหว่างวันและอาจมีความบกพร่องในการตัดสินใจ ทั้งหมดนี้สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของคุณ
ข้อแนะนำต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้คุณเอาชนะความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในการทำงานได้
- ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป ควรดื่มน้ำเปล่าแทนชาหรือกาแฟเพื่อให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นอยู่เสมอ
- วางแผนการทำงานของคุณในแต่ละวันแต่ละสัปดาห์ แบ่งงานให้สอดคล้องกับแผนการรักษาที่แพทย์นัด
- นอนหลับให้เป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรนอนกลางวันตลอดทั้งวัน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ง่ายๆเช่นการเดิน โดยอาจกำหนดเป้าหมายว่าจะออกกำลังกายให้ได้ 150 นาที หรือ 2 ชั่วโมงครึ่งต่อสัปดาห์
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และได้พลังงานที่พอเพียง
- จัดการกับเวลาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น เลือกวิธีการเดินทางไปทำงานที่ใช้เวลาน้อยลง หรือรับงานมาทำที่บ้าน
- พักช่วงสั้นๆ ระหว่างทำงานเพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลายระหว่างวัน
- ปรึกษานายจ้างหรือเพื่อนร่วมงานเพื่อช่วยลดภาระงานหรือสลับสับเปลี่ยนหน้าที่การทำงาน
การกลับเข้าทำงานใหม่
การต้องกลับไปทำงานหลังจากหยุดงานเป็นเวลานานอาจทำให้คุณรู้สึกหวั่นเกรง แต่การกลับไปทำงานได้อีกจะเป็นเครื่องช่วยยืนยันว่าการรักษาโรคกำลังเป็นไปอย่างราบรื่นและคุณกำลังจะกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรจะติดต่อสื่อสารให้นายจ้างรับทราบเกี่ยวกับอาการป่วยของคุณตลอดช่วงเวลาที่คุณหยุดพักรักษาตัวไป เพื่อที่นายจ้างจะได้เข้าใจและมีความคาดหวังที่ถูกต้องเมื่อคุณกลับจะเข้าทำงานอีกครั้ง
คุณสามารถกลับมาทำงานได้ง่ายขึ้นโดย
- ปรึกษากับนายจ้างเรื่องการกลับมาทำงานและความช่วยเหลือต่างๆ ที่คุณต้องการ
- ติดต่อกับเพื่อนร่วมงานเป็นระยะ เพื่อให้รู้สึกว่าคุณยังเป็นส่วนหนึ่งของที่ทำงาน
- การกลับไปทำงานอาจเริ่มจาก 2-3 วันต่อสัปดาห์และค่อยๆเพิ่มจนเป็นปกติ
- หาทางปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานที่เหมาะกับตัวคุณ
วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558
โรคข้อเสื่อม
โรคข้อเสื่อม
(Osteoarthritis)
โรคข้อเสื่อม คือภาวะที่ส่งผลกระทบต่อข้อทำให้ข้อติด และปวดข้อ มักใช้เวลาดำเนินโรคหลายปี และมักเป็นในข้อที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ เช่น ข้อเข่า, ข้อสะโพก และกระดูกสันหลัง เป็นต้น อย่างไรก็ตามโรคข้อเสื่อมอาจเป็นในข้อเล็กๆได้ เช่น นิ้วมือ, ข้อซอก และข้อไหล่ เป็นต้น โดยโรคข้อเสื่อมมักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่สามารถพบได้ในอายุน้อยเช่นกัน
โรคข้อเสื่อมมีสาเหตุมาจากกระดูกอ่อนที่รองรับกระดูกนั้นขรุขระ และบางมากขึ้น เมื่อกระดูกเสียดสีกันมากขึ้นจะทำให้กระดูกงอกใหม่ เรียกว่า Osteophyte ในบางครั้งเมื่อมีการอักเสบจึงทำให้น้ำเข้ามาสะสมทำให้เกิดอาการข้อบวมได้
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เกิดอาการปวดข้อ ข้อติด และใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบากมากขึ้น ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการนั้นขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละรายไป แม้ว่าไม่มีการรักษาที่ทำให้หายขาด แต่การรักษาจะช่วยลดอาการได้
(Osteoarthritis)
โรคข้อเสื่อม คือภาวะที่ส่งผลกระทบต่อข้อทำให้ข้อติด และปวดข้อ มักใช้เวลาดำเนินโรคหลายปี และมักเป็นในข้อที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ เช่น ข้อเข่า, ข้อสะโพก และกระดูกสันหลัง เป็นต้น อย่างไรก็ตามโรคข้อเสื่อมอาจเป็นในข้อเล็กๆได้ เช่น นิ้วมือ, ข้อซอก และข้อไหล่ เป็นต้น โดยโรคข้อเสื่อมมักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่สามารถพบได้ในอายุน้อยเช่นกัน
โรคข้อเสื่อมมีสาเหตุมาจากกระดูกอ่อนที่รองรับกระดูกนั้นขรุขระ และบางมากขึ้น เมื่อกระดูกเสียดสีกันมากขึ้นจะทำให้กระดูกงอกใหม่ เรียกว่า Osteophyte ในบางครั้งเมื่อมีการอักเสบจึงทำให้น้ำเข้ามาสะสมทำให้เกิดอาการข้อบวมได้
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เกิดอาการปวดข้อ ข้อติด และใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบากมากขึ้น ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการนั้นขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละรายไป แม้ว่าไม่มีการรักษาที่ทำให้หายขาด แต่การรักษาจะช่วยลดอาการได้
อาการของโรคข้อเสื่อม
ปวดลึกๆในข้อ, ขยับทิศทางข้อได้น้อยลง, ได้ยินเสียงจากข้อ(ได้ยินเสียงกร๊อบแกร๊บขณะขยับข้อ), ข้อเปลี่ยนรูป และมักมีอาการมากขึ้นช่วงเย็น(หลังจากการใช้งาน)
สาเหตุของโรคข้อเสื่อม
ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป, อ้วน, พันธุกรรม, เคยบาดเจ็บบริเวณข้อ, มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคข้อรูมาตอยด์ และโรคเกาต์
การวินิจฉัยโรคข้อเสื่อม
แพทย์จะซักประวัติ และตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น การขยับข้อเพื่อตรวจหาการอักเสบ และทิศทางของข้อที่สามารถขยับได้ นอกจากนั้นแพทย์จะส่งตรวจการถ่ายภาพทางรังสีบริเวณข้อนั้นๆ เพื่อหาลักษณะที่จำเพาะต่อโรคข้อเสื่อม
การรักษาโรคข้อเสื่อม
โรคข้อเสื่อมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตามมีการรักษาหลายแนวทางที่ช่วยลด และควบคุมอาการได้
- การดูแลตนเอง ได้แก่ การมีน้ำหนักที่เหมาะสม, ออกกำลังกายเป็นประจำ, ใส่รองเท้าที่นุ่ม และหนา เป็นต้น
- การรักษาด้วยยา ได้แก่ การใช้ยาแก้ปวดทั้งชนิดกิน และทา
- การรักษาโดยการผ่าตัด จะเลือกใช้เมื่อมีอาการปวดรุนแรง และไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยการผ่าตัดสาข้อเทียม
- การรักษาทางเลือก เช่น การกิน Glucosamine ซึ่งช่วยได้ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น
ปวดลึกๆในข้อ, ขยับทิศทางข้อได้น้อยลง, ได้ยินเสียงจากข้อ(ได้ยินเสียงกร๊อบแกร๊บขณะขยับข้อ), ข้อเปลี่ยนรูป และมักมีอาการมากขึ้นช่วงเย็น(หลังจากการใช้งาน)
สาเหตุของโรคข้อเสื่อม
ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป, อ้วน, พันธุกรรม, เคยบาดเจ็บบริเวณข้อ, มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคข้อรูมาตอยด์ และโรคเกาต์
การวินิจฉัยโรคข้อเสื่อม
แพทย์จะซักประวัติ และตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น การขยับข้อเพื่อตรวจหาการอักเสบ และทิศทางของข้อที่สามารถขยับได้ นอกจากนั้นแพทย์จะส่งตรวจการถ่ายภาพทางรังสีบริเวณข้อนั้นๆ เพื่อหาลักษณะที่จำเพาะต่อโรคข้อเสื่อม
การรักษาโรคข้อเสื่อม
โรคข้อเสื่อมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตามมีการรักษาหลายแนวทางที่ช่วยลด และควบคุมอาการได้
- การดูแลตนเอง ได้แก่ การมีน้ำหนักที่เหมาะสม, ออกกำลังกายเป็นประจำ, ใส่รองเท้าที่นุ่ม และหนา เป็นต้น
- การรักษาด้วยยา ได้แก่ การใช้ยาแก้ปวดทั้งชนิดกิน และทา
- การรักษาโดยการผ่าตัด จะเลือกใช้เมื่อมีอาการปวดรุนแรง และไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยการผ่าตัดสาข้อเทียม
- การรักษาทางเลือก เช่น การกิน Glucosamine ซึ่งช่วยได้ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น
วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558
โรคตับแข็งจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
โรคตับแข็งจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
Alcohol-induced cirrhosis
ภาวะตับแข็งเกิดจากเซลล์ของตับถูกแทนที่โดยเนื้อเยื่อพังผืด ทำให้ลักษณะเนื้อเยื่อตับที่ควรเรียบจะกลายเป็นก้อนและแข็งขึ้น นอกจากการดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดโรคตับแข็งแล้ว ยังมีสาเหตุของโรคตับแข็งมีหลายอย่าง เช่น การติดเชื้อตับอักเสบชนิด B หรือชนิด C และการเป็นโรคทางพันธุกรรมเกี่ยวกับตับบางอย่าง
การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปจะเริ่มทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับตับ เช่น โรคไขมันสะสมในตับ (Fatty liver disease) ซึ่งเป็นโรคตับที่ไม่รุนแรงและสามารถหายเป็นปกติได้ถ้าหยุดดื่ม แต่ถ้ายังมีการดื่มต่อเนื่องก็จะทำให้เป็นโรคที่รุนแรงขึ้น เช่น โรคตับอักเสบ หรือโรคตับแข็งซึ่งเป็นโรคตับจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่รุนแรงที่สุด
โรคตับแข็งแบ่งเป็นได้เป็นโรคตับแข็งระยะต้น (Compensated cirrhosis) และโรคตับแข็งระยะท้าย (Decompensated cirrhosis) ส่วนใหญ่ของผู้ที่มีโรคตับแข็งระยะต้นจะมีอาการน้อยหรืออาจไม่มีอาการเลย แต่ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมก็มีแนวโน้มที่จะมีการดำเนินของโรคไปเป็นโรคตับแข็งระยะท้ายที่จะมีอาการรุนแรงและมักมีภาวะแทรกซ้อน
อาการของโรคตับแข็งที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ในระยะแรกของโรคตับแข็งอาจไม่มีอาการใด ๆ เลยนอกจากผลการตรวจเลือดที่บ่งบอกความผิดปกติหรืออาจจะมีอาการต่อไปนี้
เนื้อเยื่อที่เป็นพังผืดจะขัดขวางการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงตับ ทำให้หลอดเลือดดำพอร์ทอลที่เชื่อมต่อระหว่างลำไส้และตับมีความดันสูงขึ้น (Portal hypertension) ความดันที่สูงนี้จึงดันเลือดที่จะไหลไปที่หัวใจให้ไหลผ่านเส้นเลือดอื่นแทนที่จะผ่านตับ เป็นผลทำให้มีการขยายของเส้นเลือดในเยื่อบุกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร เกิดเป็นภาวะเส้นเลือดขอด (varices) ซึ่งถ้ามีเลือดออกด้วยอย่างช้าๆ ก็จะทำให้เกิดโรคโลหิตจาง และยังเป็นภาวะเสี่ยงที่จะมีเลือดออกอย่างรุนแรงที่ต้องรักษาฉุกเฉิน
โรคตับแข็งนอกจากสามารถนำไปสู่??ภาวะตับวาย (Liver failure) แล้ว ยังสามารถนำไปสู่กลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับ (Hepatorenal syndrome) และสมองทำงานผิดปกติ (Encephalopathy) ได้ อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งตับด้วย
สาเหตุของการเกิดโรคตับแข็งจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
โดยปกติแล้วเนื้อเยื่อตับสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่ถ้าเซลล์ได้รับความเสียหายมากเกินไปก็จะกลายเป็นเหมือนแผลเป็นที่เป็นพังผืดถาวร ส่งผลให้ตับไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถของตับในการกำจัดสารเคมีและยาต่างๆ ออกไปจากร่างกายลดลง ซึ่งอาจทำให้เกิดสารที่เป็นสารพิษหรือสารอันตรายตกค้างอยู่ในร่างกาย
การวินิจฉัยของโรคตับแข็งที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคเกี่ยวกับตับ (Hepatologist) จะถามเกี่ยวกับอาการและอาจตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการดังต่อไปนี้
การดูแลตนเอง
แม้ว่าโรคตับแข็งจะไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ แต่คุณก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายมากขึ้น โดยวิธีที่ดีที่สุดคือการหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งหากคุณพบว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะหยุดดื่มก็ควรปรึกษาแพทย์
การใช้ยารักษา
แพทย์สามารถให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการบางอย่างได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีความดันโลหิตเส้นเลือดดำพอร์ทอลสูง (Portal hypertension) คุณอาจจะได้รับยาลดความเสี่ยงของการมีเลือดออก หรือหากมีอาการบวมในช่องท้อง แพทย์อาจให้ยาขับปัสสาวะเพื่อช่วยขจัดน้ำออกไป
ศัลยกรรม
การปลูกถ่ายตับจะเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีภาวะตับวาย ซึ่งหากได้รับการปลูกถ่ายตับคุณต้องหยุดดื่มแอลกอฮอล์ไปตลอดชีวิต
การป้องกันโรคตับแข็งที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
วิธีที่ดีที่สุดคือการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มโดยมีคำแนะนำดังนี้
Alcohol-induced cirrhosis
ภาวะตับแข็งเกิดจากเซลล์ของตับถูกแทนที่โดยเนื้อเยื่อพังผืด ทำให้ลักษณะเนื้อเยื่อตับที่ควรเรียบจะกลายเป็นก้อนและแข็งขึ้น นอกจากการดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้เกิดโรคตับแข็งแล้ว ยังมีสาเหตุของโรคตับแข็งมีหลายอย่าง เช่น การติดเชื้อตับอักเสบชนิด B หรือชนิด C และการเป็นโรคทางพันธุกรรมเกี่ยวกับตับบางอย่าง
การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปจะเริ่มทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับตับ เช่น โรคไขมันสะสมในตับ (Fatty liver disease) ซึ่งเป็นโรคตับที่ไม่รุนแรงและสามารถหายเป็นปกติได้ถ้าหยุดดื่ม แต่ถ้ายังมีการดื่มต่อเนื่องก็จะทำให้เป็นโรคที่รุนแรงขึ้น เช่น โรคตับอักเสบ หรือโรคตับแข็งซึ่งเป็นโรคตับจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่รุนแรงที่สุด
โรคตับแข็งแบ่งเป็นได้เป็นโรคตับแข็งระยะต้น (Compensated cirrhosis) และโรคตับแข็งระยะท้าย (Decompensated cirrhosis) ส่วนใหญ่ของผู้ที่มีโรคตับแข็งระยะต้นจะมีอาการน้อยหรืออาจไม่มีอาการเลย แต่ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมก็มีแนวโน้มที่จะมีการดำเนินของโรคไปเป็นโรคตับแข็งระยะท้ายที่จะมีอาการรุนแรงและมักมีภาวะแทรกซ้อน
อาการของโรคตับแข็งที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ในระยะแรกของโรคตับแข็งอาจไม่มีอาการใด ๆ เลยนอกจากผลการตรวจเลือดที่บ่งบอกความผิดปกติหรืออาจจะมีอาการต่อไปนี้
- รู้สึกไม่สบาย เบื่ออาหาร อยากอาเจียน
- คันตามผิวหนัง
- น้ำหนักตัวลดลง
- สีผิวหนังและสีของตาขาวออกสีเหลืองที่เรียกว่าดีซ่าน
- ช่องท้องและขาบวม
- กล้ามเนื้อลีบเล็กลง
- ปรากฏเส้นเลือดฝอยเหมือนแมงมุมบนผิวหนัง
- ผิวหนังช้ำและมีเลือดออกง่าย
- อาเจียนเป็นเลือดหรือมีเลือดในอุจจาระ
- รู้สึกสับสนหรือความจำไม่ดี
- อุณหภูมิร่างกายสูงจากการมีไข้เพราะมีการติดเชื้อ
- การเปลี่ยนแปลงที่แสดงลักษณะทางเพศ เช่น ในผู้ชายอาจสังเกตเห็นว่าเส้นขนตามร่างกายน้อยลง ลูกอัณฑะฝ่อเล็กลง (testicular atrophy) และมีเนื้อเยื่อเต้านมมากขึ้น (gynaecomastia) ถ้าเป็นผู้หญิงอาจจะมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ
เนื้อเยื่อที่เป็นพังผืดจะขัดขวางการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงตับ ทำให้หลอดเลือดดำพอร์ทอลที่เชื่อมต่อระหว่างลำไส้และตับมีความดันสูงขึ้น (Portal hypertension) ความดันที่สูงนี้จึงดันเลือดที่จะไหลไปที่หัวใจให้ไหลผ่านเส้นเลือดอื่นแทนที่จะผ่านตับ เป็นผลทำให้มีการขยายของเส้นเลือดในเยื่อบุกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร เกิดเป็นภาวะเส้นเลือดขอด (varices) ซึ่งถ้ามีเลือดออกด้วยอย่างช้าๆ ก็จะทำให้เกิดโรคโลหิตจาง และยังเป็นภาวะเสี่ยงที่จะมีเลือดออกอย่างรุนแรงที่ต้องรักษาฉุกเฉิน
โรคตับแข็งนอกจากสามารถนำไปสู่??ภาวะตับวาย (Liver failure) แล้ว ยังสามารถนำไปสู่กลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับ (Hepatorenal syndrome) และสมองทำงานผิดปกติ (Encephalopathy) ได้ อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งตับด้วย
สาเหตุของการเกิดโรคตับแข็งจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
โดยปกติแล้วเนื้อเยื่อตับสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่ถ้าเซลล์ได้รับความเสียหายมากเกินไปก็จะกลายเป็นเหมือนแผลเป็นที่เป็นพังผืดถาวร ส่งผลให้ตับไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถของตับในการกำจัดสารเคมีและยาต่างๆ ออกไปจากร่างกายลดลง ซึ่งอาจทำให้เกิดสารที่เป็นสารพิษหรือสารอันตรายตกค้างอยู่ในร่างกาย
การวินิจฉัยของโรคตับแข็งที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคเกี่ยวกับตับ (Hepatologist) จะถามเกี่ยวกับอาการและอาจตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการดังต่อไปนี้
- การตรวจเลือดรวมถึงการทดสอบการทำงานของตับ
- การตรวจด้วยอัลตราซาวด์ หรือเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วย CT scan หรือ MRI
- การตรวจชิ้นเนื้อตับ (Liver biopsy)
การดูแลตนเอง
แม้ว่าโรคตับแข็งจะไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ แต่คุณก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายมากขึ้น โดยวิธีที่ดีที่สุดคือการหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งหากคุณพบว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะหยุดดื่มก็ควรปรึกษาแพทย์
การใช้ยารักษา
แพทย์สามารถให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการบางอย่างได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีความดันโลหิตเส้นเลือดดำพอร์ทอลสูง (Portal hypertension) คุณอาจจะได้รับยาลดความเสี่ยงของการมีเลือดออก หรือหากมีอาการบวมในช่องท้อง แพทย์อาจให้ยาขับปัสสาวะเพื่อช่วยขจัดน้ำออกไป
ศัลยกรรม
การปลูกถ่ายตับจะเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีภาวะตับวาย ซึ่งหากได้รับการปลูกถ่ายตับคุณต้องหยุดดื่มแอลกอฮอล์ไปตลอดชีวิต
การป้องกันโรคตับแข็งที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
วิธีที่ดีที่สุดคือการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มโดยมีคำแนะนำดังนี้
- ผู้หญิงไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมากกว่า 2-3 หน่วยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อวัน
- ผู้ชายไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมากกว่า 3-4 หน่วยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อวัน
- น้ำผลไม้ที่มีแอลกอฮอล์ 6% ปริมาณ 1 ไพน์ (568 มิลลิลิตร) จะเทียบเท่าแอลกอฮอล์ 3.4 หน่วย
- เบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ 5% ปริมาณ 1 ไพน์ (568 มิลลิลิตร) จะเทียบเท่าแอลกอฮอล์ 2.8 หน่วย
- ไวน์ที่มีแอลกอฮอล์ 13% ปริมาณ 1 แก้วมาตรฐาน (175 มิลลิลิตร) จะเทียบเท่าแอลกอฮอล์ 2.3 หน่วย
- ไวน์ที่มีแอลกอฮอล์ 12% ปริมาณ 1 แก้วขนาดใหญ่ (250 มิลลิลิตร) จะเทียบเท่าแอลกอฮอล์ 3 หน่วย
- เหล้าที่มีแอลกอฮอล์ 40% ปริมาณ 1 หน่วยตวง (25 มิลลิลิตร) จะเทียบเท่าแอลกอฮอล์ 1 หน่วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
ขอเชิญผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชน เข้าร่วมประชุม ดังรายละเอียดตามนี้ ๑.วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เรื่องการอบรมฟื้นฟู...
-
นางนงนุช บุญวิเศษ อสม.ดีเด่นระดับเขต 10 ประจำปี 2555 สาขาสุขภาพจิตในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเชียงหวาง อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุ...
-
สำรวจพบพบเชื้อเอชพีวี หรือเชื้อมะเร็งปากมดลูกในห้องน้ำสาธารณะ ทั้งก้านกดชักโครก ก๊อกน้ำล้างมือ ที่รองนั่งโถส้วม เจอจากห้องน้ำในผั...
-
โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis ) โรคข้อเสื่อม คือภาวะที่ส่งผลกระทบต่อข้อทำให้ข้อติด และปวดข้อ มักใช้เวลาดำเนินโรคหลายปี และมักเป็...
-
บริการทันตกรรมในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ทุกช่วงอายุครรภ์ตามโครงการแม่ฟันดีสู่ ลูกรัก โดยจะมีการออกให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก และการให้การรักษาเบื...
-
โรคตับแข็งจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ Alcohol-induced cirrhosis ภาวะตับแข็งเกิดจากเซลล์ของตับถูกแทนที่โดยเนื้อเยื่อพังผืด ทำให้ลักษณะเนื้อเยื่อต...
-
"สุรวิทย์" ออกนโยบายยกระดับมาตรฐานตลาดนัดกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ เตรียมประกาศให้ตลาดนัดเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ชี้ต้อ...
-
หลังจากบิดาของเด็กหญิงวัย 2 ขวบ ที่เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุที่โรงพยาบาล (รพ.) นพรัตน์ราชธานี กรุงเทพมหานคร ออกมาเปิดเผยว่า แพทย์ตรวจ...