วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ร้อนนี้ระวัง!!! โรคผิวหนัง




โรคที่เกิดกับผิวหนัง มีสาเหตุต่างๆมากมายหลายประการ อาจเกิดจากการติดเชื้อหรือไม่ มีการติดเชื้อก็ได้ โรคผิวหนังบางชนิดมีรอยโรคที่ผิวหนังคล้ายคลึงกันทั้งๆที่อาจมีสาเหตุที่แต่กต่างกัน และในทางตรงกันข้ามรอยโรคที่ไม่เหมือนกัน อาจจะมีสาเหตุของโรคเหมือนกันก็ได้ 

นอกจากนี้โรคผิวหนังที่พบในสัตว์อาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว หรือมีหลายๆสาเหตุรวมกัน โรคผิวหนังอาจจำแนกได้ตามสาเหตุของโรคได้ดังต่อไปนี้ 

1) โรคผิวหนังที่มีสาเหตุจากปรสิต 
2) โรคผิวหนังที่เกิดจากแบคทีเรีย 
3) โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา 
4) โรคผิวหนังที่เกิดจากการแพ้แบบต่างๆ 
5) โรคผิวหนังเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันผันแปร 
6) โรคผิวหนังเนื่องจากระบบฮอร์โมน 
7) โรคผิวหนังเนื่องจากการขาดธาตุอาหาร 
8) โรคผิวหนังเนื่องจากพันธุกรรม 
9) โรคเนื้องอกที่ผิวหนัง 
โรคผิวหนังเกิดได้จากมากมายหลายสาเหตุ ที่พบบ่อย คือ 

- ต่อมต่างๆของผิวหนังอุดตัน และ/หรือ ติดเชื้อ เช่น เป็นสิว 
- การติดเชื้อ ซึ่งติดเชื้อได้ทั้ง แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา เช่น ฝีต่างๆ กลาก เกลื้อน โรคเริม โรคงูสวัด 
- จากโรคภูมิแพ้ตนเอง (ภูมิต้านตนเอง) เช่น โรคพุ่มพวง (โรคลูปัส/Lupus
- จากโรคภูมิแพ้ เช่น ผื่นคันจากการสัมผัสขนสัตว์ หรือ เกสรดอกไม้ 
- จากการแพ้สารต่างๆ เช่น ผื่นจากแพ้ยา 
- จากการขาดวิตามิน บางชนิด เช่น การขาดวิตามิน บี3 
- จากร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานบกพร่อง ผิวหนังจึงติดเชื้อได้ง่าย เช่น ในโรคเอดส์ 
- จากโรคของเนื้อเยื่ออ่อนของผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังแข็ง (Scleroderma) และ โรคแผลเป็นนูน 
- จากผลของฮอร์โมน เช่น การขึ้นฝ้าในคนท้อง 
- จากสูงอายุ (เซลล์ผิวหนังเสื่อมตามอายุ) เช่น กระผู้สูงอายุ 
- ไฝ ต่างๆ 
- โรคทางพันธุกรรม เช่น ปานผิวหนังชนิดต่างๆ 
- จากการถูกแสงแดดจัดเรื้อรัง นอกจากเป็นปัจจัยให้เซลล์ผิวหนังเสื่อมก่อนวัยแล้ว ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังด้วย 


วิธีการป้องกันโรคผิวหนัง 

- รักษาความสะอาดผิวหนังเสมอ โดยการใช้สบู่ที่อ่อนโยน 

- ปกป้องผิวหนังจากแสงแดดเมื่อต้องโดนแดดจัด หรือ ทำงานกลางแจ้ง เช่น ใส่เสื้อแขนยาว 
  ใส่หมวกปีกกว้าง และ/หรือใช้ยากันแดด 

- กินอาหารมีประโยชน์ครบทั้งห้าหมู่ทุกวัน (อาหารมีประโยชน์ห้าหมู่) เพิ่มผักและผลไม้ เพื่อชะลอผิวเสื่อมก่อนวัย 

- เลือกเครื่องสำอาง และเครื่องใช้ต่างๆ ชนิดที่อ่อนโยนต่อผิว เช่น ครีมบำรุงผิว น้ำยาโกนหนวด รวมทั้งยาสีฟัน ว 
  และทิชชูทำความสะอาด 

- หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัด ผิวจะแห้งมาก ผิวเสื่อมได้ง่าย 

- เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ทำลายเซลล์ผิวหนัง และยังเป็นสาเหตุของหลอดเลือดตีบ 
  ผิวหนังจึงเสื่อมง่ายจากขาดเลือด 

- เรียนรู้ชีวิต ควบคุมความเครียด เพราะเป็นสาเหตุของ สิว และผิวหน้าย่นได้เร็ว 

- หลีกเลี่ยงสารที่ก่ออาการแพ้ต่อผิวหนัง 

- รักษา ควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคผิวหนัง 

- สังเกตผิวหนังตนเองเสมอ เช่น ขณะอาบน้ำ และแต่งตัว เมื่อพบสิ่งผิดปกติ ควรพบแพทย์ 

- การพบแพทย์มะเร็ง เมื่อผิวหนังผิดปกติไปจากเดิม และไม่ดีขึ้น ภายใน 1 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เสมอ

วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เด็กต่ำ 5 ขวบเสี่ยง!! โรคมือ เท้า ปาก



เป็นโรคที่ถือว่าพบได้บ่อยมาก สำหรับโรค "มือ เท้า ปาก" หรือ Hand Foot Mouth Disease โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนจะพบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enterovirus โดยติดต่อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย อาทิ น้ำมูก น้ำลาย เสมหะอุจจาระ เป็นโรคสำคัญที่เกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบการระบาดในหลายประเทศ โดยเฉพาะเอเชียแปซิฟิก เช่น จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา เวียดนาม และไทย ซึ่งแนวโน้มการเกิดโรครุนแรง และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในรายที่ติดเชื้อไวรัสเอนเตอโร 71 อาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก เช่น ไวรัสเอนเตอโร 71 ไวรัสคอกซากี เอ ไวรัสคอกซากี บี และไวรัสเอสโฆ่ เป็นต้น

สถานการณ์ในอดีตโรค มือ เท้า ปาก
 

สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 – 2554 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยพบจำนวนผู้ป่วยตั้งแต่ 769 - 16,846 ราย ดังภาพที่ 1 



ภาพที่ 1  อัตราป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ. 2546 – 2554 ในประเทศไทย 





สถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจุบันโรคมือ เท้า ปาก 

ทั้งนี้จากการเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค มีรายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2556 - 15 ก.ย. 2556 พบผู้ป่วย 32,321 ราย จาก 77 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 50.88 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 2 ราย 

ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคเหนือ 85.95 ต่อแสนประชากร ภาคใต้ 51.70 ต่อแสนประชากร ภาคกลาง 48.71 ต่อแสนประชากร และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 33.50 ต่อแสนประชากรตามลำดับ 

บทความที่ได้รับความนิยม